การศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนโค้งและการขึ้นรูปแบบสลับทางที่มีต่อการบางลงของถ้วยก้นโค้ง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Varunee Premanond, Pongnatee Thanomkulbud, Jiraporn Sripraserd
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 20
Issue number: 3
หน้าแรก: 155
หน้าสุดท้าย: 170
จำนวนหน้า: 16
URL: https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/joindtech/article/view/7390
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนโค้งของหัวพันช์ในการลากขึ้นรูปถ้วย ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความหนาของถ้วยก้นโค้งอะลูมิเนียมผสม เกรด 5052 H32 โดยทดสอบขึ้นรูปแบบขั้นตอนเดียวและแบบสลับทาง (2 ขั้นตอน) จากการทดสอบขึ้นรูปแบบขั้นตอนเดียวพบว่าการขึ้นรูปดัวยพันช์ที่มีอัตราส่วนโค้งต่ำ ทำให้ส่วนโค้งก้นถ้วยบางลงมากกว่าบริเวณอื่น โดยตำแหน่งที่บางลงมากที่สุดอยู่ที่บริเวณส่วนโค้งก้นถ้วย ในขณะที่การขึ้นรูปด้วยพันช์ที่มีอัตราส่วนโค้งสูง (เข้าใกล้ถ้วยก้นแบน) ตำแหน่งที่เกิดการบางลงมากที่สุดอยู่ที่ผนังตรงใกล้กับโค้งก้นถ้วย การลากขึ้นรูปแบบสลับทางช่วยลดการบางลงของชิ้นงานกรณีที่พันช์มีอัตราส่วนโค้งต่ำ และถ้วยสำเร็จมีความยาวส่วนผนังตรงไม่มาก กลไกการขึ้นรูปของถ้วยก้นโค้งที่มีส่วนของผนังตรงพบว่า การขึ้นรูปช่วงแรกเป็นการขึ้นรูปส่วนโค้งก้นถ้วยซึ่งเกิดการดึงยืดทุกทิศทาง และตามด้วยการขึ้นรูปบริเวณผนังตรง ซึ่งเกิดความเค้นแรงดึงสูงตามแนวรัศมีส่งผลให้เกิดการบางลงมากที่บริเวณผนังตรงใกล้รัศมีพันช์ ดังนั้นการขึ้นรูปแบบสลับทางจึงมีผลกับการกระจายความหนาได้เฉพาะในการขึ้นรูปช่วงแรก กรณีถ้วยที่มีอัตราส่วนโค้งสูงมีความยาวส่วนผนังตรงมาก การขึ้นรูปส่วนใหญ่อยู่ที่การขึ้นรูปช่วงที่สอง จึงมีส่วนช่วยลดการบางลงได้น้อย
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง