ปัญหาการซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กและแนวทางการป้องกัน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ภรณ์วรัตน์ สุวิชาชนันทร์, บัณฑิต วรรธนาภา และ ฉัฐไชย์ ลีนาวงศ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อชุด: The 4th National Graduate Academic Conference and Research Presentation
เลขในชุด: 4
Volume number: -
หน้าแรก: 405
หน้าสุดท้าย: 417
จำนวนหน้า: 13
URL: https://graduate.sru.ac.th/download/proceeding-2024/
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก จำแนกปัญหาและสาเหตุในการซื้อสินค้า
ผ่านเฟซบุ๊ก และนำเสนอแนวทางการป้องกัน ด้วยการทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ
ผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ซื้อสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการซื้อจำนวน 9 คน และ
กลุ่มผู้ซื้อที่ไม่เชี่ยวชาญและไม่ประสบความสำเร็จในการซื้อจำนวน 8 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งมี
โครงสร้าง ใช้กระบวนการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการอธิบายพฤติกรรมการซื้อผ่านเฟซบุ๊ก ใช้กระบวนการ
การจำแนกองค์ประกอบเชิงลำดับขั้น มาจำแนกปัญหาและสาเหตุของปัญหา และใช้วิธีเชิงอุปนัยเป็นแนวทางในการ
สังเคราะห์ เพื่อสกัดเป็นแนวทางป้องกันปัญหาให้แก่ผู้จะซื้อผ่านเฟซบุ๊กได้อย่างมั่นใจ ผลวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ซื้อที่เชี่ยวชาญ
จะค้นหาสินค้าโดยตรง ติดตามและตรวจสอบผู้ขายอย่างละเอียด โดยมักเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น และเลือกใช้
วิธีการชำระเงินก่อนการจัดส่ง ทำให้ไม่ประสบปัญหา ขณะที่ผู้ซื้อที่ไม่เชี่ยวชาญมักตอบสนองต่อโฆษณาหรือขายตรง
โดยไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด เน้นที่ราคาถูก และชำระเงินทั้งแบบก่อนและหลังจัดส่ง การจำแนกองค์ประกอบเชิงลำดับ
ขั้นของปัญหาการซื้อผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นลำดับขั้นแรก จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มปัญหาย่อยในขั้นที่ 2 ได้แก่ การได้รับสินค้า
ล่าช้า ได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ และไม่ได้รับสินค้า ส่วนลำดับขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาในขั้นที่ 2 แบ่งออกเป็น
7 ด้าน คือ สาเหตุด้านการขนส่ง ด้านการสื่อสาร ด้านเฟซบุ๊กไม่กลั่นกรองโฆษณา ด้านข้อมูลสินค้า ด้านการรับประกัน
ด้านการตรวจเช็คสินค้าก่อนส่ง และด้านการเงิน ส่วนการสังเคราะห์องค์ความรู้ทำให้ได้แนวทางป้องกันปัญหาให้แก่ผู้จะ
ซื้อผ่านเฟซบุ๊ก ได้แก่ การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขาย สินค้า การจัดส่ง และเงื่อนไขอื่น ๆ การเลือกวิธีชำระเงินที่
ปลอดภัย การสังเกตและระวังสิ่งต้องสงสัย และการรักษาความเป็นส่วนตัว รวมถึงข้อเสนอแนะในปรับปรุงระบบของ
ฝั่งเฟซบุ๊ก เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ โดยองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สู่
สาธารณะต่อไป
คำสำคัญ
Facebook commerce issue, preventive measure, การป้องกัน, ปัญหาการซื้อผ่านเฟซบุ๊ก