การออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางในกลุ่มวัยรุ่นไทย
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: เริงฤทธิ์ เอกวงศ์อนันต์, พรวดี ฐิตะไพศาลผล, พรสวรรค์ อิงอมรรัตน์ และ ลลิต์ภัทร ชัยพรเฉลิม
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 1
Issue number: 3
นอก: ISSN 2392-5647 (Print)
URL: https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3077
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความนิยมของอาหารริมทางในกลุ่มวัยรุ่น 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับการบริโภคอาหารริมทาง และ 3) เพื่อออกแบบและประเมินผลภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นที่สะท้อนวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางของวัยรุ่นไทย ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 15-19 ปี โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า อาหารริมทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ หมูปิ้ง ลูกชิ้นทอด ผัดไทย และผัดกะเพรา ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับการบริโภคอาหารริมทางสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1) บริบทของที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพในพื้นที่ และ 2) ความสะดวกรวดเร็วในกระบวนการเตรียมอาหาร ซึ่งมักเป็นอาหารที่มีขั้นตอนการปรุงไม่ซับซ้อน ในส่วนของการประเมินความพึงพอใจในผลงานภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นจากกลุ่มเป้าหมาย พบว่าในภาพรวมของผลงานพึงพอใจในระดับดีมาก (= 4.70, S.D.=0.52) การรู้สึกถึงความสำคัญของอาหารริมทาง (= 4.2, S.D.=0.76) อยู่ในระดับดี และการถ่ายทอดความเป็นอาหารริมทาง (= 4.4, S.D.=0.65) อยู่ในระดับดี งานวิจัยนี้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางกับวิถีชีวิตของวัยรุ่นไทย และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำเสนอประเด็นทางวัฒนธรรมผ่านสื่อภาพยนตร์แอนิเมชันให้กลุ่มวัยรุ่นหันมาสนใจในการรักษาวัฒนธรรมอาหารริมทางของไทยต่อไป
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง