การศึกษาการใช้งานสายรัดข้อมืออัจฉริยะในการวัดผลทางสุขภาพ เพื่อพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล “แอปพลิเคชันสานสุข”
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ชูจิต ตรีรัตนพันธ์, วชิรศักดิ์ วานิชชา, บัณฑิต วรรธนาภา, สายชล ใจเย็น, พรชัย มงคลนาม, ชนัญชิดา หงษ์รัตนาภรณ์, ชนากานต์ ศรีชัยวัฒน์, โศภิษฐา ธัญประทีป และ นลินี เรืองฤทธิศักดิ์
ผู้เผยแพร่: คณะจัดการวารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อย่อของวารสาร: สสส
Volume number: 3
Issue number: 4
หน้าแรก: 313
หน้าสุดท้าย: 324
จำนวนหน้า: 12
นอก: 2774-0285
eISSN: 2774-1249
URL: https://thpjournal.thaihealth.or.th/
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้งานสายรัดข้อมืออัจฉริยะในการวัดผลทางสุขภาพ และพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล "แอปพลิเคชันสานสุข" โดยทดสอบการใช้งานร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง 20 คน จาก 6 ภูมิภาค เป็นเวลา 7 วัน ผ่านการทดลองใช้สายรัดข้อมืออัจฉริยะและต้นแบบสายรัดข้อมือร่วมกับแอปพลิเคชันสานสุข พร้อมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญในการยอมรับการใช้งานประกอบด้วย (1) ความต้องการเชิงการใช้งานของสายรัดข้อมืออัจฉริยะ ได้แก่ ความทนทานต่อน้ำและการกันรอยขีดข่วน แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นาน การมองเห็นและใช้งานง่ายและการทำความสะอาดสะดวก ราคาที่เหมาะสมของสายรัดข้อมือควรอยู่ระหว่าง 1,000-2,000 บาท และ (2) ความต้องการเชิงอารมณ์และคุณค่าต่อสายรัดข้อมืออัจฉริยะและแอปพลิเคชันสานสุข ได้แก่ การเป็นผู้ช่วยดูแลสุขภาพส่วนตัวการสร้างความภาคภูมิใจเมื่อบรรลุเป้าหมาย และการเป็นสื่อกลางแสดงความห่วงใยในครอบครัว สำหรับแอปพลิเคชันสานสุขกลุ่มตัวอย่างพบว่า ฟีเจอร์แดชบอร์ดภาพรวมสุขภาพ เฮลธ์ตี้ช้อยส์ และคอมมูนิตี้กิจกรรมสุขภาพ ช่วยสร้างความตระหนักรู้และแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ แต่ควรปรับปรุงระบบการบันทึกข้อมูลอาหาร ความเสถียรของการเชื่อมต่อ และการแสดงผลข้อมูลย้อนหลัง การศึกษานี้ยังพบว่า บริบทการใช้ชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น ความเชื่อทางศาสนา และสภาพแวดล้อมในชุมชนมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้งาน ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาต่อยอดคือ การพัฒนาระบบนิเวศสนับสนุนการทำงาน การจัดการข้อมูลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และการวางแผนสร้างความยั่งยืนผ่านความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
คำสำคัญ
health application, health behavior, health technology, holistic health, smart wristband, เทคโนโลยีสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, สายรัดข้อมีออัจฉริยะ, สุขภาพองค์รวม, แอปพลิเคชันสุขภาพ