การศึกษาส่วนผสมและกำลังดัดของคานมอร์ตาร์ที่ขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Yanisa Kalrayanamit,Thanakorn Suthiapa, Waraluk Pansuwan, Weerachart Tangchirapat, and Chai Jaturapitakkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาส่วนผสมและการรับกำลังดัดของคานมอรต์ตาร์ที่ขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สาหรับส่วนผสมมอร์ตาร์ที่ใช้ในนการพิมพ์ 3 มิติ ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกท่ีผสมแคลเซียมสเตียเรตในอัตราร้อยละ 15.0 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้เส้นใยไมโครพอลิโพรพิลีน (PP) ขนาดความยาว 6 และ 9 มม. ร้อยละ 0.1, 0.2 และ 0.3 โดยปริมาตร ทำการทดสอบสมบัติของมอร์ตาร์ในสภาวะสดและในสภาวะท่ีแข็งตัวแล้วเพื่อหาส่วนผสมท่ีเหมาะสมสาหรับการขึ้นรูปคานด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ จากนั้นทดสอบกำลังรับแรงดัดของคาน ด้วยวิธีทดสอบแรงดัดงอแบบ 3 จุด (3-points bending) เปรียบเทียบผลการทดสอบกับวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ จากผลการศึกษาพบว่ามอร์ตาร์ที่มีเส้นใยไมโครพอลิโพรพิลีนขนาดความยาว 6 มม. ร้อยละ 0.2 โดยปริมาตรมีความเหมาะสมในการนำไปขึ้นรูปได้ดีที่สุดและเมื่อเปรียบเทียบค่าความเครียดดึงและน้ำหนักกระทำสูงสุดกับวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่าผลการวิเคราะห์ไฟไนต์เลิเมนต์สูงกว่าผลการทดสอบอยู่ร้อยละ 4.3 และ 26.1 ตามลำดับ
คำสำคัญ
3D printing, Finite element method (FEM), Flexural strength, Micro-polypropylene fibers