การสร้างสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: หฤชัย ยิ่งประทานพร
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 47
Issue number: 4
หน้าแรก: 60
หน้าสุดท้าย: 72
จำนวนหน้า: 13
URL: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/262383
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อประเมินคุณภาพสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย และยินดีตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบไปด้วย 1) สื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อของสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ผลการศึกษาพบว่า การสร้างสื่ออินโฟกราฟิกประกอบผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพจาก Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (X = 4.50, S.D. = 0.59) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (X = 4.63, S.D. = 0.49) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.87, S.D. = 0.34)
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง