ระบบการจัดการแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้า

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งสุุเมธ เนติลัดดานนท์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก73

หน้าสุดท้าย77

จำนวนหน้า5

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาวการณ์และบริบททั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป และเทคโนโลยีจัดเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต การนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น เทคโนโลยีด้านพลังงานแสงอาทิตย์ รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เป็นต้น โดยภาคพลังงานเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ยังคงเติบโตได้ดีต่อเนื่องทั่วโลก (ในปี 2024 ขยายตัว 29% ต่อปี) ปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต่ำกว่าแหล่งพลังงานอื่น ๆ โดยตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในประเทศไทยจะมาจากตลาดที่ขายไฟให้ลูกค้าโดยตรง (Private PPA) และตลาดการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง (Self consumption) ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ อาคารธุรกิจ โรงงาน และครัวเรือน [1] ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะต่อผ่านอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อกริดแบบอัจฉริยะซึ่งจะเรียกว่าแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources, DERs) ซึ่งนิยามของอินเวอร์เตอร์แบบอัจฉริยะคือ “อินเวอร์เตอร์ที่มีฟังก์ชั่นสามารถสนับสนุนระบบโครงข่ายโดยอัตโนมัติในขณะที่ทำงาน โดยสามารถที่จะช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าและความถี่ สนับสนุนกำลังจริงและกำลังรีแอกทีฟในระบบไฟฟ้า ควบคุมอัตราตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนกำลังผลิตไฟฟ้า และมีความสามารถในการสื่อสารข้อมูล” [2] โดยอินเวอร์เตอร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งในปัจจุบันล้วนมีความสามารถนี้แล้วแต่ในการนำมาใช้สนับสนุนระบบโครงข่ายนั้น จำเป็นที่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะต้องมีศูนย์สั่งการที่เชื่อมต่อกับอินเวอร์เตอร์แบบอัจฉริยะเหล่านี้เพื่อทำหน้าที่สั่งการนั่นเอง


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-28-02 ถึง 00:00