ตำนานเวียงหนองหล่มกับการศึกษาด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
วารสาร: ISTRS e-Journal (NO_ISSN)
Volume number: 18
Issue number: 6
หน้าแรก: 20
หน้าสุดท้าย: 27
จำนวนหน้า: 8
นอก: NO_ISSN
บทคัดย่อ
ภาคเหนือของประเทศไทย มีเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย การบริหารจัดการเมืองให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องคำนึงถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดล่วงหน้าได้ แต่จากบทเรียนในหลาย ๆ เหตุการณ์และหลาย ๆ ประเทศจะพบได้ว่าการเตรียมพร้อมจากการศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในอดีตนั้นจะทำให้ผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหวนั้นลดไปได้อย่างมีนัยสำคัญ
รอยเลื่อนแม่จันนั้นเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังขนาดใหญ่ ที่พาดผ่านพื้นที่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ด้วยขนาดความยาวที่มากกว่า 100 กิโลเมตร พาดผ่านตั้งแต่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ก่อนที่จะเข้าสู่ประเทศลาวต่อไป สามารถเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ หรือใหญ่กว่าได้ ซึ่งจากการศึกษาโดย ปัญญา จารุศิริ (2543) [1] พบว่ารอยเลื่อนแม่จัน เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (>7.0 ริกเตอร์) มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง ในช่วง ระหว่าง 940,000 ถึง 1,600 ปีก่อน
เหตุการณ์ที่ตอกย้ำถึงความสำคัญของแผ่นดินไหว ในบริเวณรอยเลื่อนแม่จัน ในประวัติศาสตร์ คือ เหตุการณ์จากการบอกเล่าในตำนานสิงหนวัติ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าได้มีการก่อตั้งเมือง เรียกว่าเวียงโยนก และมีราชวงศ์สิงหนวัติปกครอง เรื่อยมายาวนาน ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ได้มีผู้ปกครองสืบทอดติดต่อกันถึงสี่สิบห้าพระองค์ สุดท้ายในตำนานก็เล่าถึงการสิ้นสุดของเวียงโยนกว่า เวียงโยนกนั้นจมลงจากการเกิดแผ่นดินไหว [2] นักวิชาการได้สันนิษฐานว่า เมืองโยนก น่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 บริเวณ คือ บริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอแม่จันละอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย หรือบริเวณหนองหลวง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จากการศึกษาทางธรณีวิทยา และหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุ [3] พบว่าพื้นที่แอ่งที่ราบเวียงหนองหล่ม (รูปที่ 1) อยู่ในแนวการวางตัวของรอยเลื่อนแม่จัน จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่ เมืองโยนกจะอยู่ ในพื้นที่เวียงหนองหล่ม และเป็นเพราะพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่จะสามารถเกิดแผ่นดินไหวได้
อย่างไรก็ตามยังมีอีกแง่มุมหนึ่งในเชิงวิศวกรรมแผ่นดินไหว ที่ยังไม่เคยมีการกล่าวถึงในการอธิบายตำนานการสิ้นสุดของเมืองโยนกนคร นั่นคืออาจเป็นไปได้ว่าแทนที่เมืองทั้งเมืองจะจมลงจนกลายเป็นหนองน้ำ ตามที่เข้าใจกันจากการบอกเล่าในตำนาน ในทางวิศวกรรมอาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ดินเหลว (Liquefaction) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่มีแผ่นดินไหวในระดับที่มีความรุนแรงระดับหนึ่ง ประกอบกับในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น พื้นดินมีคุณสมบัติที่พอเหมาะ เมื่อเกิดดินเหลวขึ้น น้ำใต้ดินอาจผุดขึ้นมาบนผิวดิน และทำให้การรับน้ำหนักของดินลดลง จนทำให้โครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนดินทรุดตัวลง และในบางพื้นที่อาจมีน้ำเอ่อขึ้นจากพื้นดิน ซึ่งตรงนี้เองอาจเป็นที่มาของตำนานว่าน้ำท่วมและเมืองจมลงก็เป็นได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง