นวัตกรรมด้านสุขภาพจิตเพื่อป้องกันความรุนแรงในสังคมไทย

บทคัดย่อของบทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งธิติมา วงษ์ชีรี และ ชุดาณัฎฐ์ สุดทองคง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number8

Issue number16

หน้าแรก16

หน้าสุดท้าย19

จำนวนหน้า4

นอก24654493

URLhttps://istrs.kmutt.ac.th/www/public/images/ejournals/pdf/ejournals-pdf-1817320551197645.pdf

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ จากการจัดอันดับประเทศที่มีความสงบสุขของโลก ด้วยดัชนีสันติภาพโลก (Global Peace Index) ในปี 2565 พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความรุนแรง ในลำดับที่ 47จาก จำนวน 163 ประเทศ โดยหนึ่งในความรุนแรงที่พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นคือ ความรุนแรงโดยเด็กและเยาวชน ซึ่งกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รายงาน จำนวน เด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเพิ่มขึ้น 14.76 % ใน ระหว่างปี 2564 -2565 ซึ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า เด็กและเยาวชนใช้ความรุนแรงมาก ยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในผลงานวิจัยระยะยาว สถานการณ์เยาวชนกับความรุนแรงในสังคมไทย พบว่า ต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชน (ซึ่งเด็กเป็นผู้ประเมินเอง) อายุ 12-18 ปี มีแนวโน้มลดลง ตั้งแต่ก่อนเริ่มมีการแพร่ระบาดโควิด-19

และเมื่อมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจไม่ดี พ่อแม่ส่วน ใหญ่จะไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ส่งผลทำให้เด็กและเยาวชนมีต้นทุนชีวิตต่ำ ซึ่งมีหลักฐาน ยืนยันว่า หากเด็กมีต้นทุนชีวิตต่ำจะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงมากกว่าเด็กทั่วไป 3 - 10 เท่า (ไม่ว่าผู้ปกครองจะมีฐานะยากจนหรือร่ำรวย) ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาคือ การรักษาต้นทุนภายในและต้นทุนภายนอกของตัวเด็กเอง อันประกอบด้วย 5 พลัง ได้แก่ พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน  สมมุติฐานที่ว่า หากเด็กเรียนเก่งแล้วจะเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี เป็นการเข้าใจผิด เนื่องจาก ผลการศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิต สาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย พบว่า เด็กที่ เรียนเก่งที่สุด มีแนวโน้มมีจิตสาธารณะน้อยที่สุด


คำสำคัญ

สุขภาพจิต


อัพเดทล่าสุด 2025-11-03 ถึง 00:00