อุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) และการลดความเสี่ยงจากระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาตามมาตรฐาน วสท.

บทความปริทัศน์


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งอนวัช แสงสว่าง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

หน้าแรก126

หน้าสุดท้าย128

จำนวนหน้า3

URLบทความเผยแพร่ในหนังสือ "สู่โลกเทคโนโลยีสมัยใหม่กับวิศวกรรมไฟฟ้า มจธ."

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การกำหนดให้ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาต้องมีอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (rapid shutdown) ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย: ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะการลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณ Array boundary ให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ โดยเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าฯ ขนาดตั้งแต่ 200 kW ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 1,000 kW ที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน แต่ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้พิจารณาอ้างอิงตามมาตรฐาน วสท. ส่งผลให้ระบบผลิตไฟฟ้าฯ ขนาดตั้งแต่ 200 kW ขึ้นไปต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน วสท. (วสท.ไม่ได้กำหนดขนาดของระบบที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน) ทางเลือกของอุตสาหกรรมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในขณะนี้ยังอยู่ที่การจัดหาอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินในระดับโมดูล (module level) ติดตั้งหลังแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อลดแรงดันภายใน Array boundary เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน วสท. ซึ่งรูปแบบที่สามารถจัดหาได้มีทั้งแบบ 1 แผงต่อ 1 โมดูล หรือ 2 แผงต่อ 1 โมดูล ช่วงแรกที่มาตรฐาน วสท. ฉบับนี้ออกมา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินยังมีน้อยมาก ตลอดจนยังมีอุปกรณ์ที่ทำตลาดในประเทศน้อยรายมาก จน พพ. ต้องประกาศเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐาน วสท. ข้ามมาถึงกรกฎาคม 2566 เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมหาอุปกรณ์และติดตั้งได้ตามมาตรฐาน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-11-03 ถึง 00:00