การศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเกิดภาพจากเลนส์นูน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งNannaphat Anusornsanya, Kittisakchai Naemchanthara, Kriangkrai Wantong, Ekkaphop Ketsombun and Saengkrit Klunboot

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก317

หน้าสุดท้าย331

จำนวนหน้า15

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเกิดภาพจากเลนส์นูน 2) เพื่อสำรวจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเกิดภาพจากเลนส์นูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมีแบบทดสอบที่สามารถใช้วัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเกิดภาพจากเลนส์นูน จำนวน 4 ข้อ ครอบคลุม 2 วัตถุประสงค์การเรียนรู้  ผลการสำรวจพบว่านักเรียนมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่คลาดเคลื่อนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90 โดยมีประเด็นมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่คลาดเคลื่อนแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ การลากรังสีของแสงออกจากวัตถุ การลากเส้นรังสีที่หักเห  ผ่านเลนส์นูน การวาดภาพที่เกิดจากรังสีของแสงตัดกัน การระบุชนิดภาพที่เกิดจากเลนส์นูน และการมองเห็นภาพเมื่อมีแผ่นทึบแสงมาบังเลนส์ คิดเป็นร้อยละ 43 53 66 36 และ 47 ตามลำดับ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-20-03 ถึง 00:00