การส่งเสริมศักยภาพครูผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงสำรวจ
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Rachanee Dersingh, Khoi Minh Vuong
ผู้เผยแพร่: Chulalongkorn University Language Institute
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 39
หน้าแรก: 259
หน้าสุดท้าย: 281
จำนวนหน้า: 23
นอก: 2286-9972
URL: https://so07.tci-thaijo.org/index.php/PasaaParitat/article/view/5466
ภาษา: English-United States (EN-US)
บทคัดย่อ
การพัฒนาวิชาชีพเป็นข้อกำหนดสำหรับครูในโรงเรียนของประเทศไทยเพื่อการประเมินผลประจำปี
การมีส่วนร่วมในการวิจัยครูอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อพัฒนาวิชาชีพสําหรับครูในโรงเรียน ทั้งนี้การวิจัยเชิง
ปฏิบัติการเชิงสำรวจ (Exploratory Action Research: EAR) เป็นการวิจัยประเภทหนึ่งที่ได้รับการนำเสนอ
ให้แก่ครูในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในประเทศไทย จากความร่วมมือระหว่างบริติช เคานซิล
ประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การฝึกอบรมนำร่องเกี่ยวกับ EAR เริ่มต้นขึ้นใน
ปี ค.ศ.2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูมีความรู้และทักษะในการดำเนินการ EAR ในระหว่างการอบรมผู้เข้า
รับการฝึกอบรมได้รับคำแนะนำจากผู้ฝึกสอนสองคนผ่านระบบ webinars และได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษา
สองคนผ่านการให้คำปรึกษาออนไลน์เพื่อให้การดำเนินการ EAR สมบูรณ์ การวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อตรวจสอบ
ว่าการฝึกอบรมดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงครูอย่างไรบ้าง ด้วยคำแนะนำจากที่ปรึกษาสองคนและการมีส่วนร่วม
โดยสมัครใจ ครูเจ็ดคนได้รับการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยเผยให้เห็นทั้งประโยชน์และความท้าทาย ครูมีการ
เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่มีต่อการวิจัยและการสอนอย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยในชั้นเรียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
ในทางปฏิบัติเพราะสามารถแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ครูในโรงเรียนยังได้รายงาน
การสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญอีกด้วย ดังนั้นการฝึกอบรม EAR จึงได้หล่อหลอมบทบาท
ของครูในโรงเรียนไปสู่การเป็นครู-นักวิจัยได้
คำสำคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงสำรวจ, การพัฒนาวิชาชีพ, การวิจัยในชั้นเรียน, การฝึกปฏิบัติการสอน
คำสำคัญ
Classroom research, Exploratory Action Research, Professional development, Teaching practices