สมบัติของเชื้อเพลิงชีวมวลและถ่านจากเศษมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งนริส ประทินทอง, สร้อยดาว วินิจนันทรัตน์, นารีรัตน์ สุขขี, พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์, อัจฉรีย์ มานะกิจ

ผู้เผยแพร่Research and Development Institute, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

ชื่อย่อของวารสารRMUTP sci.J.

Volume number19

Issue number1

นอก1906-0432

eISSN2651-1096

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเศษมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กะลา เปลือก เปลือกติดกะลา และทะลายเปล่า จากอุตสาหกรรมทางการเกษตรในจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงครามมาวิเคราะห์สมบัติของเชื้อเพลิง และถ่านที่ได้มากระบวนการเผาทั้งจากเตาหลุมและเตาถังขนาด 200 ลิตร วิเคราะห์ปริมาณกลุ่มสารโดยประมาณได้แก่ ความชื้น เถ้า สารระเหย และคาร์บอนคงตัว ตามมาตรฐานของสมาคมการทดสอบและวัสดุอเมริกัน  D 3172-13 (2021)e1 วิเคราะห์ค่าความร้อนด้วยบอมบ์ แคลอริมิเตอร์ และวิเคราะห์โดยละเอียดได้แก่ ปริมาณคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และซัลเฟอร์ รวมทั้งการนำไปอัดเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล และถ่านอัดแท่งโดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในค่าความร้อนสูงของวัสดุที่นำมาทดสอบซึ่งแตกต่างกันไปตามกลุ่มและแหล่งที่มา ค่าความร้อนของเศษมะพร้าวเหลือทิ้งอยู่ในช่วง 17.38 ถึง 20.48 เมกะจูล/กิโลกรัม ขณะที่ถ่านจากเศษวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้อยู่ในช่วง 24.14 ถึง 31.84 เมกะจูล/กิโลกรัม พบว่าค่าความร้อนเชื้อเพลิงที่ได้จากทั้งสองเตามีค่าใกล้เคียงกัน โดยกะลาแสดงค่าความร้อนสูงที่สุด รองลงมาคือ เปลือกติดกะลา การทำนายค่าความร้อนของถ่านด้วยสมการที่นำเสนอโดย Demirbas บนการวิเคราะห์ปริมาณกลุ่มสารโดยประมาณให้ผลที่ใกล้เคียงกัน โดยมีความคลาดเคลื่อนโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ  5 ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานในทางปฏิบัติ  เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษมะพร้าวน้ำหอมที่เหมาะสมได้แก่ชีวมวลจากเปลือกมะพร้าวและถ่านจากกะลามะพร้าวเนื่องจากให้ค่าความร้อนมากกว่า 20 เมกะจูล/กิโลกรัม


คำสำคัญ

BiofuelCharcoalYoung coconut


อัพเดทล่าสุด 2025-20-03 ถึง 00:00