การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งดอกไม้ ติยะบุตร, สิทธิชัย แก้วเกื้อกูล

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก29

หน้าสุดท้าย36

จำนวนหน้า8


บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการสั่งซื้อและพื้นที่จัดเก็บสินค้าคงคลัง ตลอดจนต้นทุนในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการปรับปรุงพบว่า ต้นทุนวัสดุคงคลังสูงกว่ายอดขาย และมีสินค้าไม่เคลื่อนไหวเป็นจำนวนมาก โดยเป็นผลมาจากรูปแบบการสั่งซื้อ การประมาณการสั่งซื้อ และการกำหนดสินค้าปลอดภัยที่สูงเกินความจำเป็น จากนั้นได้ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา โดยการคำนวณการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ และระยะเวลาในการสั่งซื้อ และนำทฤษฎีความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Waste) มาดำเนินการกับวัตถุดิบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ตลอดจนปรับปรุงระบบการจ่ายเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และการบริหารวัสดึงคลังแบบเอบีซี (ABC Analysis) มาช่วยในการเบิก – จ่าย ควบคุมปริมาณและพื้นที่จัดเก็บ หลังการปรับปรุง พบว่า จำนวนสินค้าคงคลังลดลง 15.06%  มูลค่าสินค้าคงคงลดลง 21.91% สินค้าไม่เคลื่อนไหวลดลง 23.02% การเบิก-จ่ายใช้เวลาลดลง 7 นาที/ใบเบิก คิดเป็น 21.88% และการจัดเก็บใช้เวลาลดลง 5 นาที/ใบรับของ คิดเป็น 25% 


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-01-04 ถึง 00:00