การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคณภาพของสารเคลือบผิวแบบหล่อถาวรด้วยวิธี Cross Cut Test
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ณัฐกฤตา ติยานันทิ, ณัฐพล ป่าไม้ทอง, ไวทย์โฆสน พันธ์พิน, ศุภฤทธิ์ ล้วนโกศลชัย, ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์, ศุภฤกษ์ บุญเทียร
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
ชื่อชุด: การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ 16
เลขในชุด: 16
หน้าแรก: 341
หน้าสุดท้าย: 346
จำนวนหน้า: 6
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การเคลือบผิวแม่พิมพ์ถาวรในกระบวนการหล่อช่วยควบคุมการถ่ายเทความร้อน ป้องกันการยึดติดของโลหะ และ ยืดอายุการใช้งานของแม่พิมพ์ โดยความเสียหายหลักมาจากการสูญเสียการยึดเกาะและการสึกหรอ งานวิจัยนี้ศึกษาผลของความ สะอาดแม่พิมพ์ อุณหภูมิแม่พิมพ์ และความหนาของสารเคลือบ DAG 395 และ DAG 633 ต่อการยึดเกาะของสารเคลือบ โดยใช้ การทดสอบ Cross Cut Test ตามมาตรฐาน ASTM D3359 Method-B ผลการทดลองพบว่า การเคลือบที่ 80 ไมครอน สารเคลือบ คงสภาพได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 60-270°C โดยมีการหลุดล่อนไม่เกิน 5% แต่เมื่อเพิ่มความหนาเป็น 100 ไมครอนขึ้นไป พบว่าการ หลุดล่อนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสารเคลือบ DAG 395 ที่ระดับ 100, 140-180 และ 220 ไมครอน มีการหลุดล่อนในระดับ 3B (5 15%), 2B (15-35%) และ 1B (35-65%) ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าความหนาของสารเคลือบมีผลต่อการยึดเกาะ ซึ่งต้องควบคุมเพื่อเพิมประสิทธิภาพการเคลือบแม่พิมพ์ในกระบวนการหล่อ
คำสำคัญ : การหล่อโลหะ อะลูมิเนียมหล่อ สารเคลือบแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ถาวร การยึดเกาะ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง