การบำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศของโรงงานแป้งมันสำปะหลังโดยสาหร่ายขนาดเล็ก

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPhonphan Khipthes, Kalyanee Paithoonrangsarid, Wattana Jeamton, Pratin Kullavanijaya, Chiraphan Khannapho, Wipawan Siangdung

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

หน้าแรก191

หน้าสุดท้าย192

จำนวนหน้า2


บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่กระบวนการผลิตแป้งนี้ก่อให้เกิดน้ำเสียปริมาณมาก ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ถูกบำบัดด้วยการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ และได้ก๊าซชีวภาพเป็นผลผลิต อย่างไรก็ตามน้ำทิ้งที่ออกจากระบบบำบัดหรือ Effluent นี้ ยังคงปนเปื้อนธาตุอาหารมลสาร ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และสารอินทรีย์ที่ไม่ถูกย่อยสลายในปริมาณสูง จำเป็นต้องบำบัดเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้งสู่สาธารณะ งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้สาหร่าย Chlorella และ Scenedesmus ที่คัดแยกได้จากแหล่งน้ำของไทย กำจัดธาตุอาหารที่หลงเหลือ โดยเลี้ยงสาหร่ายแบบสายพันธุ์เดี่ยวและแบบร่วมกันในน้ำทิ้งที่มีความเข้มข้นร้อยละ 50 ผลวิจัยพบว่า สาหร่ายเติบโตรวดเร็วในช่วง 2-3 วันแรก โดยในวันที่ 7 Scenedesmus สามารถกำจัดไนเตรตได้ร้อยละ 56 และฟอสฟอรัสได้ร้อยละ 67 ในขณะที่ Chlorella กำจัดไนเตรตและฟอสฟอรัสได้เพียงร้อยละ 33 แต่เมื่อใช้สาหร่ายทั้งสองชนิดร่วมกัน พบว่าเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดธาตุอาหารขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยลดไนเตรตได้ถึงร้อยละ 97 และฟอสฟอรัสได้ร้อยละ 82 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้สาหร่ายหลายสายพันธุ์ร่วมกันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัด ได้ดีกว่าการใช้สาหร่ายเพียงชนิดเดียว  นอกจากนี้ชีวมวลสาหร่ายที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ อื่น เช่น ปุ๋ยชีวภาพ หรือเพื่อผลิตพลังงาน ดังนั้นการใช้สาหร่ายจึงเป็นแนวทางที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การใช้สาหร่ายแบบเซลล์แขวนลอยเพื่อบำบัดน้ำเสีย มีข้อจำกัดด้านความเข้มข้นเซลล์ต่ำ จึงต้องศึกษาหาวิธีเพิ่มความเข้มข้นเซลล์เพื่อใช้ประโยชน์ได้สูงสุดต่อไป


คำสำคัญ

Anaerobic digestionCassava starch wastewaterMicroalgaeNutrient removal


อัพเดทล่าสุด 2025-23-05 ถึง 00:00