ชื่อเรื่องอารมณ์ของจิตในสภาวะสังคมร่วมสมัยของข้าพเจ้า

อื่นๆ


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งมานัส แก้วโยธา

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024


บทคัดย่อ

               บทคัดย่อ                อารมณ์ของจิตในสภาวะสังคมร่วมสมัยของข้าพเจ้า

ขนาด  255X195  เซนติเมตร    เทคนิค จิตรกรรมผสม

มานัส แก้วโยธา

ที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์

ที่มา สังคมล้อมรอบตัวนั้นมีลักษณะทั้งความเป็นนามธรรมและรูปธรรม กุลธิดา ศรีวิเชียร.(2565) สังคมจึงเป็นทั้งโครงสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม หรือความเหลื่อมล้ำทางสังคมจึงมีการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองและระบบทุนนิยม  สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม หรือ ความไม่เสมอภาค ทางสังคม สภาวะอารมณ์นี้นำมาเป็นเนื้อหาสาระหลักในผลงาน

ความสำคัญ  การสร้างสรรค์จึงมีเค้าโครงมาจากมุมมองที่ภายในจิต ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกตามสภาวะสังคมช่วงนั้นๆ อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550) เกิดจินตภาพผ่านการลดทอนทางรูปธรรมไปสู่นามธรรมโดยแสดงการตัดทอน   การสร้างสรรค์ สภาวะความสับสนของสังคมร่วมสมัย นำไปสู่ผลงานจิตรกรรมที่เชื่อมโยงเป็นงานผลงานศิลปะนามธรรมที่เกิดผลงานที่แสวงหากระบวนการทางศิลปะและเน้นให้ความสำคัญถึงมิติทางทัศนธาตุ อันเกิดจาก  สี รูปร่างรูปทรง ฉะนั้น กระบวนการสร้างงานจะเน้น สี รูปร่างรูปทรงทัศนธาตุอย่างอิสระตามสภาวะอารมณ์สังคมรอบตัว

วัตถุประสงค์  เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมสองมิติเพื่อนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์จิตรกรรมนามธรรมให้เป็นรู้จักและได้สัมผัสรับรู้ถึงคุณค่าของการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่เฉพาะเจาะจง ผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะให้เกิดการรับรู้กระบวนการเทคนิคของการสร้างสรรค์ผลงาน   

            แนวความคิด กระบวนการสร้างสรรค์

แนวความคิด ผลงานสร้างสรรค์ชุด “อารมณ์ของจิตในสภาวะสังคมร่วมสมัยของข้าพเจ้า”อารมณ์สภาวะความรู้สึกเหล่านี้ไม่สามารถปฏิเสธที่เกิดจากส่วนหนึ่งของสังคม  สภาวะเหลื่อมล้ำทางสังคม ทางเศรษฐกิจและสังคม ความไม่เสมอภาคทางสังคม สภาวะการกลายเป็นผู้ถูกกดขี่ การสร้างสรรค์และการนำเสนอ รูปแบบ กระบวนการ ตลอดจนวิเคราะห์เพื่อหาความสมดุล เอกภาพ ทฤษฎีสีกับความรู้สึก ที่มีขึ้นกับเนื้อหา ศิลปะนามธรรมโดยสมบูรณ์คือศิลปะที่ไม่สามารถโยงเข้ากับแหล่งอ้างอิงรูปธรรมใดได้ ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

กระบวนการการสร้างสรรค์ ได้ค้นคว้า ทดลองเทคนิคของการหยอดสี เทสี ราดสี โดยสีอะคริลิค กับดินสอพอง โดยใช้ ทินเทอร์และน้ำมันสน มาผสมเพื่อสร้างปฏิกิริยาเคมี เกิดการแตกของสีและเกิดรอยร้าวของดินสอพองเกิดรูปร่างรูปทรงที่เป็นอิสระเกิดอารมณ์ของจิตในสภาวะสังคมร่วมสมัยของข้าพเจ้า ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกจากจินตภาพผ่านการลดทอนทางรูปธรรมไปสู่นามธรรมโดยแสดงในความฉับพลัน ตามหลักการทางทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์

สรุปอภิปรายผลของการสร้างสรรค์

ได้สรุปกระบวนการทำงานและความคิดให้สอดคลองกับเนื้อหามีจุดเชื่อมโยงกันกลายเป็นรูปแบบนามธรรมที่แสดงบุคลิกอุปนิสัย ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมสองมิติแสดงออกถึงอารมณ์ของจิตในสภาวะสังคมร่วมสมัยของข้าพเจ้า ได้อย่างดีมากและมีลักษณะเฉพาะตนได้ดี และได้นำการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ โดยการเผยแพร่ให้สาธารณชนผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและได้รับรู้ถึงคุณค่าทางด้านจิตรกรรมนามธรรมเกิดการรับรู้กระบวนการเทคนิคได้อย่างดีมาก

เอกสารอ้างอิง

กุลธิดา ศรีวิเชียร.(2565) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อิทธิพล ตั้งโฉลก.(2550) แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมชั้นสูง.กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจํากัดมหาชน.   


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-23-05 ถึง 15:07