การจำลองสถานการณ์ การเจริญเติบโตของสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า และปริมาณอาหารภายในบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายแบบรางคู่ ปริมาตร 3,000 ลิตร ในสภาวะกลางแจ้ง

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPanya Triratana, Annop Nopharatana, Wipawan Siangdung, Chonthicha Choysungnoen, Kalyanee Paithoonrangsarid

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

URLhttps://ncap2025.mju.ac.th/


บทคัดย่อ

          สาหร่ายอาร์โธรสไปร่า เป็นไซยาโนแบคทีเรียที่มีปริมาณโปรตีนสูงกว่า 50% ของน้ำหนักแห้ง จึงมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย การจัดการการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อเพิ่มผลผลิตชีวมวลและการใช้สารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตสาหร่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้การทำนายการเจริญเติบโตของสาหร่ายล่วงหน้าจะช่วยให้สามารถวางแผนการจัดการได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยแบบจำลองการเจริญเติบโตของสาหร่ายและแบบจำลองความเข้มแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงวัน เพื่อทำนายการเจริญเติบโตของสาหร่ายในบ่อเพาะเลี้ยงแบบรางคู่ ขนาด 2x9x0.5 เมตร ปริมาตรการเพาะเลี้ยง 3,000 ลิตร ในสภาวะกลางแจ้ง โดยใช้ความเข้มแสงเฉลี่ยที่สาหร่ายจะได้รับทั้งบ่อตามอัตราส่วนเชิงปริมาตรของสาหร่ายภายในบ่อ ผลการวิจัย พบว่าแบบจำลองความเข้มแสงต่อพื้นที่รับแสงจากดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงวัน ที่ใช้ตัวแปรละติจูด ลองติจูด วันและเวลา เป็นตัวแปรต้นในการทำนาย และการเพิ่มตัวแปรการตัดแสงที่ได้รับจากดวงอาทิตย์เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศก่อนถึงพื้นที่รับแสง สามารถทำนายปริมาณความเข้มแสงเฉลี่ยได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ แบบจำลองที่ได้ ยังสามารถทำนายผลผลิตสาหร่ายและปริมาณสารอาหารภายในบ่อเพาะเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับผลการทดลองจริง ทั้งนี้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในสภาวะกลางแจ้งเพื่อให้สามารถผลิตสาหร่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


คำสำคัญ

การเพาะเลี้ยงสาหร่ายแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ผลผลิตสาหร่ายสาหร่ายอาร์โธสไปร่า


อัพเดทล่าสุด 2025-27-05 ถึง 00:00