การจัดการคุณภาพแสงในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเพิ่มผลผลิตชีวมวลและสารมูลค่าสูง

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งปณิตตรา ทวีแสง, สายวารี เงินเพิ่มทรัพย์, วิภาวรรณ เสียงดัง, ปัญญา ไตรรัตนา, วัฒนา เจียมตน, กัลยาณี ไพฑูรย์รังสฤษดิ์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

ชื่อชุดกำหนดการและบทคัดย่อการประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติครั้งที่ 11 "นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน"

หน้าแรก2

หน้าสุดท้าย213

จำนวนหน้า212

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

สไปรูลิน่า (Arthrospira platensis) เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินขนาดเล็ก ที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมอาหารเสริม เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน กรดไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และสารสี ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ไฟโคไซยานิน แสงเป็นปัจจัยทสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางชีวเคมี ของสาหร่าย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของชนิดแสงต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารชีวเคมีของสไปรูลิน่า โดยเพาะเลี้ยงสายพันธุ์ BP ภายใต้แสง LED สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียวและสีน้ำเงิน ที่ความเข้มแสง 100 µmol photons m -2 s -1 และอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า แสงสีแดงและสีเหลืองให้ผลผลิตชีวมวล 0.31 ± 0.01 และ 0.26 ± 0.01 g L-1 d-1 ตามลำดับ ใกล้เคียงกับแสงสีขาวซึ่งเป็นชุดควบคุม (0.26  0.02 g L-1 d-1) ขณะที่แสงสีน้ำเงินให้ผลผลิตชีวมวลต่ำที่สุด (0.08 ± 0.02 g L-1 d-1) อย่างไรก็ตาม แสงสีน้ำเงินกระตุ้นการสร้างไฟโคไซยานินในเซลล์ โดยมีปริมาณสูงกว่าแสงสีขาว 1.5 เท่า นอกจากนี้แสงสีเหลือง แสงสีเขียว และแสงสีฟ้า ช่วยเพิ่ม ปริมาณโปรตีน ขณะที่แสงสีแดงและสีเหลือง ช่วยเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเลือกใช้ความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสม เป็นแนวทางสำคัญในการเพิ่มผลผลิตชีวมวลและสารชีวเคมีของสาหร่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีมูลค่าสูง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตชีวมวลสาหร่ายและสารชีวเคมี เป้าหมายในระดับอุตสาหกรรมต่อไป


คำสำคัญ

ความยาวคลื่นแสงสไปรูลิน่าสารมูลค่าสูงสาหร่ายขนาดเล็ก


อัพเดทล่าสุด 2025-31-05 ถึง 00:00