แบคทีเรียและธาตุอาหารในน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งธัญชนก ทองเสมอ, นารีรัตน์ สุขขี, สร้อยดาว วินิจนันทรัตน์, บัณฑิต ติระชุลี, ภาวิณี พัฒนจันทร์, วาศนศักดิ์ ลิ้มควรสุวรรณ

ผู้เผยแพร่Rajamangala University of Technology Isan

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

Volume number18

Issue number2

นอก3027-6756

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สมบัติของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอมสดเหลือทิ้ง ที่ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักต่างกัน ได้แก่สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และ พด.7 เป็นระยะเวลา 30 วัน นำน้ำหมักมาวิเคราะห์กลุ่มประชากรแบคทีเรีย และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรดด่าง การนำไฟฟ้า แทนนิน องค์ประกอบธาตุอาหาร ผลการศึกษาพบว่า น้ำหมักที่ใช้ พด.2 มีแบคทีเรีย Lactobacillales ร้อยละ 80 ขณะที่น้ำหมักที่ใช้ พด.7 มีแบคทีเรีย Bacillales มากถึงร้อยละ 53 และ Lactobacillales ร้อยละ 24 น้ำหมักจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอมมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในระดับที่ใกล้เคียงกับสูตรอาหารพืชไร้ดินยกเว้นปริมาณไนโตรเจน นอกจากนี้ยังตรวจพบสารแทนนินในน้ำหมักทั้งสองชนิด ดังนั้นน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกมะพร้าวอาจจะนำไปใช้ในการเกษตรเพื่อปรับปรุงดิน รวมทั้งมีสารต้านจุลชีพ และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ 


คำสำคัญ

aromatic coconutBio-extractMicroorganismsplant nutrients


อัพเดทล่าสุด 2025-04-06 ถึง 12:00