การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในวิทยาลัยเทคนิค ประเทศไทย

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งปรัชญาณัชญ์ ดวงใจ, สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร และ สันติรัฐ นันสะอาง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

ชื่อชุดProcedia of Multidisciplinary Research

เลขในชุด3

Volume number5

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย11

จำนวนหน้า11

URLhttps://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/6488/3956

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในวิทยาลัยเทคนิค ประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ และ 3) สร้างสมการทํานายสมรรถนะทางวิชาชีพโดยใช้ปัจจัยด้านทักษะพื้นฐาน ความรู้และทักษะเฉพาะทาง ความสามารถในการประยุกต์ใช้ และทักษะการเชื่อมขั้นสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับ ปวช. สาขาช่างเชื่อมโลหะจากวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศไทย จํานวน 328 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบ One-Sample Wilcoxon Signed Rank Test, Kruskal-Wallis Test, Mann-Whitney U Test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีสมรรถนะวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะทั้ง 8 ด้านในระดับมาก (มัธยฐาน = 4.00) โดยมีค่าสูงกว่าระดับปานกลาง (3) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ปัจจัยด้านสถานศึกษาและเกรดเฉลี่ยมีผลต่อความแตกต่างของสมรรถนะวิชาชีพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ขณะที่ปัจจัยด้านเพศและภูมิภาคไม่มีผล 3) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ทักษะการเชื่อมขั้นสูง ความรู้และทักษะเฉพาะทาง และความสามารถในการประยุกต์ใช้ มีอิทธิพลต่อสมรรถนะวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 81.2 โดยสมการทํานายในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z = -0.029(BS) + 0.298(SKS) + 0.230(AA) + 0.438(AWS) ผลการวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-10-06 ถึง 00:00