โครงสร้างภูมินิเวศ พลวัต และนิเวศบริการของแนวป่าชายน้ำ: กรณีศึกษาพื้นที่ตัวเมือง จังหวัดยโสธร

บทความปริทัศน์


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งKiatkamon Nilapornkun

ผู้เผยแพร่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

Volume number12

Issue number1

นอกE-journal ISSN: 2351-0935

ภาษาEnglish-United States (EN-US)


บทคัดย่อ

แนวป่าชายน้ำ เป็นกลุ่มพืชพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบริเวณริมตลิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มน้ำหลาก ทำหน้าที่เชื่อมต่อในแนวยาว แนวราบและแนวดิ่งของระบบนิเวศ กำเนิดผลผลิตเชิงนิเวศและนิเวศบริการ ยโสธร มีชุมชนชนบทขนาดเล็กที่ยังมีการดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม ประมงน้ำจืดและประโยชน์จากนิเวศบริการ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาโครงสร้าง พลวัตและนิเวศบริการของแนวป่าชายน้ำและประโยชน์ต่อชุมชนเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวป่าชายน้ำด้วยวิธีวิจัย (1) ใช้เทคโนโลยีรับรู้ระยะไกลเพื่อระบุโครงสร้างภูมินิเวศ ขอบเขตการเกิดพลวัตน้ำหลากและการก่อตัวของแนวป่าชายน้ำ (2) สังเกตการณ์พื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า แนวป่าชายน้ำพบมากในพื้นที่ราบลุ่มน้ำหลากซึ่งมีความกว้าง 3.00-8.00 กิโลเมตร  การขยายและหดตัวของของพืชได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพลวัตน้ำหลาก นิเวศบริการแนวป่าชายน้ำสำคัญมากต่อความมั่นคงทางอาหาร ความต่อเนื่องของวิถีชีวิตและระบบเศรษฐกิจหมู่บ้าน แนวป่าชายน้ำลดลงอย่างมากจากการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อ่างเก็บน้ำและการขยายตัวของเมือง ตามลำดับ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพลวัตน้ำหลากโดยเขื่อนและถนน จนนำไปสู่การลดลงของนิเวศบริการที่กระทบกับปริมาณอาหารและรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ


คำสำคัญ

ป่าชายน้ำ


อัพเดทล่าสุด 2025-14-06 ถึง 00:00