ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่านิทานพร้อมกิจกรรมประกอบเพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งพรรณิภา งอยภูธร, ปาณิศา เลิศทหาร, จารุพักตร์ เทพแก้ว

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

ชื่อชุดมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สู่นวัตกรรมเชิงพื้นที่

หน้าแรก148

หน้าสุดท้าย160

จำนวนหน้า13

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

เด็กช่วงวัย 0 - 6 ปี เป็นวัยที่สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาจากครอบครัว ครู และบุคลากรทางการศึกษารวมไปถึงชุมชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมบูรณ์และเหมาะสมตามวัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจถึงผลลัพธ์ในการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ให้กับครูในพื้นที่ตำบลเต่างอย 2. เปรียบเทียบความสามารถทักษะสมอง EF ในด้านการจำเพื่อใช้งาน การยืดหยุ่นความคิด และการมุ่งเป้าหมาย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ โดยใช้การเล่านิทานพร้อมกิจกรรมประกอบ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเต่างอย ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 46 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานพร้อมกิจกรรมประกอบ และแบบประเมินพฤติกรรมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการหาขนาดอิทธิพล (Effect size) ตามเกณฑ์ของ Cohen’s d

            ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดประสบการณ์การเล่านิทานพร้อมกิจกรรมประกอบ ทักษะสมอง EF ของเด็กอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะในด้านทักษะการจำเพื่อใช้งานและการยืดหยุ่นความคิด ในขณะที่ทักษะด้านการมุ่งเป้าหมายอยู่ในระดับดี การเล่านิทานพร้อมกิจกรรมประกอบสามารถส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ในด้านการจำเพื่อใช้งาน การยืดหยุ่นความคิด และการมุ่งเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทั้งในทางสถิติที่ระดับ .05 และในทางปฏิบัติ


คำสำคัญ

การจัดประสบการณ์การเล่านิทานพร้อมกิจกรรมประกอบเด็กปฐมวัยทักษะสมอง EF


อัพเดทล่าสุด 2025-24-06 ถึง 00:00