การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตรสำหรับการวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกรณีศึกษา: กระบวนการตัดเหล็ก
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: บุษรินทร์ เจริญสมบัติ, เจษฎา จันทวงษ์โส, พร้อมพงษ์ ปานดี, สุริยพงศ์ นิลสังข์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
หน้าแรก: ID142-1
หน้าสุดท้าย: ID142-8
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการผลิตมีความสำคัญต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเหล็กและ กระบวนการแปรรูปโลหะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย บริษัทกรณีศึกษาต้องการแก้ไขปัญหาการวางแผนสำหรับ กระบวนการตัดเหล็กด้วยแก๊สที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทำให้บางครั้งเกิดความล่าช้าในการส่งมอบให้กับลูกค้า ดังนั้นผู้วิจัยได้นำเสนอการ ประยุกต์วิธีการทางสถิติด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อการประเมินเวลาในกระบวนการตัดเหล็กต่อความ ยาวและความหนาของแผ่นเหล็ก นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้แบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Modeling) สำหรับการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม ผลการนำเดินงานวิจัยพบว่า ความยาวและความหนาของแผ่นเหล็กมีผลต่อระยะเวลาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ หลังจากนั้นน าสมการที่ได้ ใช้ส าหรับประเมินระยะเวลาการตัดตามความต้องการของลูกค้า ร่วมกันกับกำหนดเวลาในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยได้กำหนดสมการ เป้าหมายเป็นการได้กำไรสูดสุด และเครื่องมือ Excel Solver เพื่อคำนวณหาเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตัดเหล็กในแต่ละวัน แบบจำลองทาง คณิตศาสตร์ที่ได้จากการดำเนินงานวิจัยในการวางแผนกระบวนการตักเหล็กสามารถเพิ่มกำไรสูงสุดหลังจากส่งมอบงานให้ลูกได้ เพิ่มขึ้น 65.88 เปอร์เซ็นต์จากการวางแผนการผลิตเดิม และสามารถนำแบบจำลองนี้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการผลิตจริงของบริษัทตามความต้องการของลูกค้าได้
คำสำคัญ
Mathematical modeling, Production Planning