การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ การรับมือแผ่นดินไหว: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านร้องบง จังหวัดเชียงราย
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Jakkrit Jantakoon;Suphornthip Thanaphatchottiwat;Wareerat Kaewurai;Amornrat Wattanatorn;Kanyaphak Phumyaem
ผู้เผยแพร่: Faculty of Education Naresuan University
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 26
Issue number: 1
หน้าแรก: 102
หน้าสุดท้าย: 115
จำนวนหน้า: 14
eISSN: 3027-7019
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/262967
บทคัดย่อ
เชียงรายเป็นจังหวัดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสูงสุดของประเทศ ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเพื่อลดความเสี่ยง บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมครูพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะการรับมือแผ่นดินไหว 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมครู กลุ่มเป้าหมายเป็นครูโรงเรียนบ้านร้องบง จังหวัดเชียงราย จำนวน 15 คน ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการฝึกอบรมครู แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมครูมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) โครงสร้างของหลักสูตร 4) เนื้อหาสาระ 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อการเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล เนื้อหาหลักสูตรมี 3 หน่วย ได้แก่ 1) แผ่นดินไหวภัยใกล้ตัว 2) โรงเรียนกับการรับมือแผ่นดินไหว 3) หน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะการรับมือแผ่นดินไหว มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, SD = 0.14)2. ประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมครู พบว่า 1) ครูมีความรู้ในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะการรับมือภัยพิบัติหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูสามารถกำหนดสมรรถะที่จำเป็นการรับมือแผ่นดินไหว กำหนดผลการเรียนรู้เชิงสมรรถนะ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะข้ามวิชามากกว่า 4 วิชาขึ้นไป รวมถึงสามารถออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 3) ครูตระหนักเห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ และร่วมมือรวมพลังกันสร้างการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมและเกิดสมรรถนะการรับมือแผ่นดินไหว และเห็นคุณค่าของวิชาชีพครูมากขึ้น
คำสำคัญ
Competency-Based Integrated Unit, Earthquake, Teacher Training Course