ผลกระทบของการขุดอุโมงค์ต่อเสาเข็มข้างเคียงเมื่อพิจารณาความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของดิน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปองชัย ศรีแสงทอง, พรเกษม จงประดิษฐ์, ชนา พุทธนานนท์ และ อาทิตย์ ฉายอรุณ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
หน้าแรก: GTE-37-1
หน้าสุดท้าย: GTE-37-9
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน การก่อสร้างอุโมงค์ในเขตชุมชนมีความจำเป็นที่ต้องขุดเจาะอุโมงค์ใกล้เคียงกับโครงสร้างเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของดินตลอดแนวการขุด และการเคลื่อนตัวนี้อาจส่งผลต่อโครงสร้างข้างเคียง สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของการขุดอุโมงค์ต่อฐานรากเสาเข็มของโครงสร้างอาคารข้างเคียงนั้น การศึกษาที่ผ่านมามักพิจารณาสมบัติของดินในลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในรูปแบบนี้อาจทำให้ผลการวิเคราะห์ขาดความครอบคลุมสำหรับการพิจารณาระดับความน่าเชื่อถือเนื่องจากละเว้นการพิจารณาความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของดิน ดังนั้น การศึกษาจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญถึงความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของสมบัติดินในการวิเคราะห์พฤติกรรมของเสาเข็มเนื่องจากการขุดอุโมงค์ข้างเคียงโดยการประยุกต์ใช้วิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่มด้วยโปรแกรม PLAXIS 2D ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของระดับความผันผวนที่ส่งผลต่อความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของสมบัติดินส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสียรูปของเสาเข็มและความน่าจะเป็นในการวิบัติ การวิเคราะห์โดยคำนึงถึงความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของสมบัติจึงเหมาะสมที่จะใช้พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง