การพัฒนาห้องเรียนดิจิทัลด้วย Google Classroom ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ศิริพร ล้วนศิริภาพ และ ชนินทร์ ตั้งพานทอง
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
หน้าแรก: 954
หน้าสุดท้าย: 966
จำนวนหน้า: 13
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนดิจิทัลด้วย Google Classroom ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 จานวน 31 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ห้องเรียนดิจิทัลด้วย Google Classroom ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) แผนจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพของห้องเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนดิจิทัลด้วย Google Classroom มีคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.33/83.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนด เนื่องจากเวลาในการประเมินระหว่างเรียน (E1) ทาในช่วงเนื้อหาที่เพิ่งได้เรียนรู้ไป ขณะที่การประเมินหลังเรียน (E2) ดาเนินการหลังจากสิ้นสุดการเรียนรู้ ซึ่งห่างจากการเรียนรู้นั้นพอสมควร ผู้เรียนอาจลืมเนื้อหาบางส่วนไป 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง