ยุทธศาสตร์ความมั่นคงองค์รวมของประเทศไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมที่เป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์
ผู้เผยแพร่: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
ชื่อย่อของวารสาร: NDSIJ
Volume number: 16
Issue number: 1
หน้าแรก: 76
หน้าสุดท้าย: 96
จำนวนหน้า: 21
นอก: 1906-7836
eISSN: 2651-1525
บทคัดย่อ
วิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกที่เลวร้ายต่อเนื่อง เข้าขั้นโลกร้อนระดับรหัสสีแดง (Code Red) ผลที่ตามมาคือ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภัยพิบัติที่มีความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทั่วโลกและเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกราวประมาณ 385.94 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. 2566 พบว่า ภาคส่วนสำหรับภาคอุตสาหกรรม มีความเป็นไปได้ภายในปี ค.ศ. 2050 ในระดับปานกลางถึงสูง แต่มือโอกาสความสำเร็จในระดับสูงมาก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรม เปลี่ยนง่ายกว่า ภาคพลังงาน ภาคเกษตรกรรม และภาคของเสีย เพราะปล่อย CO₂ จากกระบวนการผลิตที่ควบคุมได้ แต่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูงร่วมด้วย อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมเองก็ต้องการปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมที่เป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อให้เกิดความสามารถแข่งขันได้ บทความนี้ได้ถูกวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณและจัดทำยุทธศาสตร์โดยใช้ตัวตั้งต้นแบบผนวกเข้ากับตัวกลไกการขับเคลื่อนและส่วนขยายผลของตัวแบบ แล้วทำการหลอมรวมเข้าด้วยกัน จนได้เป็น “ยุทธศาสตร์ความมั่นคงองค์กรของประเทศไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมที่เป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับข้อตกลงระดับโลกใหม่ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อีกทั้งยังเป็นแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมต่อไป
คำสำคัญ
ความมั่นคงแบบองค์รวม, ยุทธศาสตร์, อุตสาหกรรมที่เป็นกลางทางคาร์บอน