การศึกษาความสามารถในการรับน้ำหนักตามแนวแกน และพฤติกรรมการคืบอัดของคอนกรีตเสริมเหล็กและแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้ว
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วุฒิชัย สกุลสุรารักษ์, ภาคิณ ขาววงค์, ธรรมสรณ์ บ่อหลี, พีระพัฒน์ ชากระโทก, วรายุธ ดอกเดื่อ, พีรพล อินคล้าย, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
Volume number: STR 63
หน้าแรก: 1
หน้าสุดท้าย: 6
จำนวนหน้า: 6
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการรับน้ำหนัก ลักษณะการวิบัติ และพฤติกรรมการคืบอัดตามแนวแกนของคอนกรีตเสริมเหล็กและแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้ว (GFRP) ตัวอย่างคอนกรีตที่ใช้ในการทดสอบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 มม. และสูง 800 มม. มีรูปแบบการเสริมแรงที่แตกต่างกันตามลักษณะการเสริมแรง โดยมีอัตราส่วนของพื้นที่หน้าตัดวัสดุเสริมแรง (เหล็ก และ GFRP) ต่อหน้าตัดคอนกรีตเท่ากับร้อยละ 1.50, 2.88 และ 5.12 มีระยะห่างของปลอกแบบเดี่ยวและเกลียวเท่ากับ 150 และ 75 มม. ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่ของวัสดุเสริมแรงด้วยแท่ง GFRP มากขึ้น คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักตามแนวแกนได้มากขึ้น การลดระยะห่างของปลอกและเปลี่ยนรูปแบบของปลอกส่งผลให้ลดการเสียรูปและรับแรงอัดตามแนวแกนได้มากขึ้น การคืบอัดของคอนกรีตที่เสริมแท่ง GFRP มีการเสียรูปสะสมมากกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของ GFRP ที่มีโมดูลัสยืดหยุ่นต่ำกว่าทำให้มีการเสียรูปมากขึ้นเมื่อรับแรงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง