สมบัติของคอนกรีตเสริมเส้นใยแก้วที่ใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ณัฐกมล เกิดจังหวัด และ ชูชัย สุจิวรกุล
ผู้เผยแพร่: วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
ชื่อย่อของวารสาร: JIT
Volume number: 21
Issue number: 1
หน้าแรก: 118
หน้าสุดท้าย: 134
จำนวนหน้า: 17
นอก: 1686-9869
eISSN: 2697-5548
URL: https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/joindtech
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตเสริมเส้นใยแก้วที่ผสมด้วยยางพาราธรรมชาติ หรือยางพาราสังเคราะห์ สมบัติของคอนกรีตที่ศึกษาประกอบด้วย กำลังอัด การดูดซึมน้ำ และกำลังดัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยแก้ว ตัวอย่างทดสอบกำลังอัดมีขนาด 50x50x50 mm เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C190 ส่วนตัวอย่างทดสอบกำลังดัดและการดูดซึมน้ำเป็นแผ่นบางคอนกรีตเสริมใยแก้วที่ได้จากการพ่นให้ได้ความหนาประมาณ 10 mm ตัวอย่างได้ถูกตัดให้มีขนาด 50x250 mm โดยตัวอย่างได้ทดสอบการดัดตามมาตรฐาน BS EN 1170-5:1998 ปริมาณสารลดแรงตึงผิวที่เหมาะสมสำหรับใช้ร่วมกับยางพาราธรรมชาติได้ถูกหาจากการทดลองผสมเพื่อหาความเข้ากันของส่วนผสม ตัวแปรหลักที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ปริมาณเนื้อยางพาราธรรมชาติหรือเนื้อยางพาราสังเคราะห์ในอัตราส่วนร้อยละ 2 4 และ 6 แทนที่น้ำหนักปูนซีเมนต์ และอายุของตัวอย่างแผ่นบางคอนกรีตเสริมเส้นใยแก้วที่บ่มน้ำ 7 14 28 และ 56 วัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้สารลดแรงตึงผิวที่ร้อยละ 1.0 ช่วยให้ยางพาราธรรมชาติผสมกับมอร์ตาร์ได้เข้ากันอย่างดีโดยไม่จับตัวเป็นก้อน การแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยยางพาราธรรมชาติหรือยางพาราสังเคราะห์ทำให้กำลังอัดของคอนกรีตมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดี การใช้ยางพาราธรรมชาติหรือยางพาราสังเคราะห์จะช่วยลดค่าการดูดซึมน้ำ โดยค่าการดูดซึมน้ำต่ำสุดเกิดขึ้นเมื่อใช้ปริมาณยางพาราธรรมชาติและยางพาราสังเคราะห์ที่ร้อยละ 2 นอกจากนี้ การใช้ยางพาราธรรมชาติหรือยางพาราสังเคราะห์ในตัวอย่างแผ่นบางจะทำให้หน่วยแรงดัดที่ขีดจำกัดสัดส่วนและหน่วยแรงดัดที่จุดแตกร้าวลดลงเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม แต่ค่าความเหนียวของตัวอย่างแผ่นบางมีแนวโน้มสูงกว่าตัวอย่างควบคุมเมื่อทำการบ่มน้ำในเวลานานขึ้น
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง