การศึกษาการแตกของคันดินเนื่องจากน้ำไหลล้นข้างโครงสร้างทางชลศาสตร์โดยใช้แบบจำลองทางกายภาพ
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ;ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์;สนิท วงษา;อุดมศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา;ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2015
วารสาร: Srinakharinwirot Engineering Journal (1905-4548)
Volume number: 10
Issue number: 1
หน้าแรก: 12
หน้าสุดท้าย: 21
นอก: 1905-4548
บทคัดย่อ
cm3 โดยควบคุมความชื้นในดินของการบดอัดไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดสอบโดยปล่อยให้น้ำไหลล้นช่องแตกและปล่อยให้เกิดการกัดเซาะคันดินจนไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคันดิน จากนั้นทำการวิเคราะห์หาปริมาณดินและพฤติกรรมของการกัดเซาะที่เวลาต่างๆ กันโดยแบบจำลอง 3 มิติ ผลการศึกษาปริมาตรคันดินที่ถูกกัดเซาะพบว่า ที่ความลาดชันคันดินและอัตราการไหลเดียวกันปริมาตรของดินที่ถูกกัดเซาะที่ตำแหน่งต่างๆ มีผลใกล้เคียงกัน โดยจะอยู่ในช่วงร้อยละ 13.14-19.86, 17.32-23 และ 18.30-23.83 สำหรับต่อความลาดชัน 1:1,1:1.5 และ 1:2 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าปริมาตรดินที่ถูกกัดเซาะไม่ได้ขึ้นกับตำแหน่งของการเกิดช่องแตก และกระบวนการแตกของคันดินที่ตำแหน่งต่างๆ จะเหมือนกันโดยเริ่มจากการกัดเซาะที่บริเวณท้ายคันดินร่วมกับการหลุดลอกของผิวคันดิน การกัดเซาะที่ด้านท้ายคันดินก่อให้เกิดการกัดเซาะแบบตัดแนวดิ่งตามมาจนคันดินแตกเป็นช่อง จากนั้นคันดินจะเกิดการขยายตัวในแนวราบเป็นช่องขนาดใหญ่จนกว่าการแตกจะเสถียร แต่ในการเกิดช่วงแรก การกัดเซาะในแนวดิ่งที่ตำแหน่ง X1 มีแนวโน้มเกิดขึ้นรุนแรงกว่าตำแหน่ง X3 อย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ
Embankment breach, Physical model, Lateral erosion, Overtopping flow