Charcoal and Wood Vinegar from Carbonization of Barks and Fruit Peels

Journal article


Authors/Editors


Strategic Research Themes

No matching items found.


Publication Details

Author listNuwaboot, Parinya;Jamradloedluk, Jindaporn;Lertsatitthanakorn, Charoenporn

Publication year2016

JournalWarasan Witthayasat Lae Theknoloyi Mahawitthayalai Mahasarakham (1686-9664)

Volume number35

Issue number5

Start page519

End page524

ISSN1686-9664

URLhttp://research.msu.ac.th/msu_journal/upload/articles/article1525_95395.pdf


Abstract

เนื่องจากเปลือกไม้และเปลือกผลไม้มักมีความชื้นที่สูงและค่าความร้อนที่ตํ่า ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการนำมาใช้งานเป็นเชื้อเพลิงสำหรับกระบวนการทางเคมี-ความร้อน การคาร์บอไนเซชันผ่านกระบวนการไพโรไลซีสช้าถือเป็นหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติเบื้องต้นของชีวมวลเหล่านี้ได้และยังให้นํ้าส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้อีกด้วย งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมถ่านและนํ้าส้มควันไม้จากเปลือกไม้ยูคาลิปตัส เปลือกสับปะรด และเปลือกมะละกอดิบโดยกระบวนการคาร์บอไนเซชันในเตาเผา 200 ลิตรชนิดแนวตั้งโดยได้ทำการศึกษาปริมาณผลได้และสมบัติของถ่านและนํ้าส้มควันไม้ที่ได้ จากผลการทดลอง พบว่า หลังผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชัน ร้อยละของคาร์บอนเสถียรของเปลือกไม้ยูคาลิปตัส เปลือกสับปะรด และเปลือกมะละกอมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 157, 272 และ 280 ตามลำดับ โดยการคาร์บอไนเซชันของเปลือกไม้ยูคาลิปตัสจะให้ปริมาณผลได้ของถ่านและนํ้าส้มควันไม้ที่มากกว่าการคาร์บอไนเซชันของเปลือกสับปะรดและเปลือกมะละกอ ปริมาณผลได้เฉลี่ยของถ่านและนํ้าส้มควันไม้ที่ได้จากเปลือกไม้และเปลือกผลไม้ที่ทำการศึกษามีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 20.89-24.0 และ 8.36-9.26 ตามลำดับ ในแง่ของสมบัติด้านค่าความร้อนพบว่า มีเพียงถ่านจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสเท่านั้นที่มีค่าความร้อนผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่านไม้หุงต้ม (มผช.657


Keywords

barks and fruit peelsCarbonizationwood vinegar


Last updated on 2022-06-01 at 15:34