INFLUENCE OF VULCANIZATION SYSTEMS ON MECHANICAL, FRICTION AND WEAR PROPERTIES OF RUBBER FILLED WITH HEXAGONAL BORONNITRIDE PARTICLES
Journal article
Authors/Editors
Strategic Research Themes
No matching items found.
Publication Details
Author list: Thongsang, Sirinthorn;Pueagkeaw, Chaiya;Taraporn, Wiriya
Publication year: 2016
Journal: วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) (1686-9311)
Volume number: 8
Issue number: 16
Start page: 1
End page: 12
ISSN: 1686-9311
URL: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/8351
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของระบบวัลคาไนเซชั่นด้วยซัลเฟอร์เพอร์ออกไซด์ และแบบผสมซัลเฟอร์กับเพอร์ออกไซด์ที่มีต่อสมบัติทางกล ความเสียดทานและการสึกหรอของยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็มที่เติมสารปรับความเสียดทานอนุภาคเฮ็กซะโกนอลโบรอนไนไตรด์ปริมาณ 40 ส่วนในร้อยส่วนของยางซึ่งมีการนำยางคอมปาวด์ไปทดสอบคุณลักษณะการคงรูปของยาง สมบัติทางกลด้านการทนแรงดึงและทนแรงฉีกขาดทดสอบสมบัติความเสียดทานและการสึกหรอจากเครื่องไตรโบมิเตอร์แบบลูกบอลบนจานหมุน พร้อมกับตรวจสอบสัณฐานวิทยาของรอยสึกหรอบนผิวยางด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราดนอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบสมบัติของยางที่เติมอนุภาคเฮ็กซะโกนอลโบรอนไนไตรด์กับผงพอลิเททระฟลูออโรเอทธิลีนด้วยจากการทดลอง พบว่ายางธรรมชาติที่ผ่านระบบวัลคาไนเซชั่นด้วยซัลเฟอร์ใช้เวลาในการคงรูปยางน้อยที่สุด ส่วนระบบวัลคาไนเซชั่นแบบผสมซัลเฟอร์กับเพอร์ออกไซด์ และระบบวัลคาไนเซชั่นด้วยเพอร์ออกไซด์ใช้เวลาในการคงรูปยางเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่วนยางอีพีดีเอ็มให้ผลการทดลองที่สวนทางกันยางทั้งสองชนิดที่ผ่านระบบวัลคาไนเซชั่นด้วยซัลเฟอร์ให้ค่าความทนแรงดึงและทนแรงฉีกขาดสูงสุด จึงส่งผลให้ความต้านทานการสึกหรอดีที่สุดแต่ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของยางสูงมากที่แสดงถึงการลื่นไถลไม่ดีนัก เนื่องจากยางที่ผ่านระบบวัลคาไนเซชั่นด้วยซัลเฟอร์เกิดพันธะข้ามส่วนใหญ่เป็นพอลิซัลฟิดิกที่มีความอ่อนตัวและมีความสามารถในการยืดตัวสูง จึงทำให้ยากต่อการเคลื่อนที่ผ่านระหว่างคู่ผิวสัมผัสโดยยางที่เติมอนุภาคเฮ็กซะโกนอลโบรอนไนไตรด์ให้สมบัติการทนแรงดึง ทนแรงฉีกขาด และความต้านทานการสึกหรอโดยรวมสูงกว่าการใช้ผงพอลิเททระฟลูออโรเอทธิลีน แต่สมบัติการลื่นไถลไม่ดีเท่า
Keywords
EPDM, Slip