Member Stiffness of Standard Bolted Joint Member : Comparing Results Obtained by Analytical Methods and by Photoelasticity
Journal article
Authors/Editors
Strategic Research Themes
No matching items found.
Publication Details
Author list: Tienkul, Nuttapong;Pinit, Pichet
Publication year: 2016
Journal: KMUTT Research and Development Journal (0125-278X)
Volume number: 39
Issue number: 4
Start page: 547
End page: 563
ISSN: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=821
Abstract
รอยต่อที่ยึดชิ้นส่วนด้วยสลักเกลียวซึ่งเป็นการจับยึดแบบชั่วคราวนั้นถูกใช้เพื่อให้การจับยึดชิ้นส่วนทางวิศวกรรม เป็นไปโดยง่ายและสะดวก เกณฑ์ความเสียหายของรอยต่อนี้ขึ้นอยู่กับค่าคงตัวความแข็งแกร่งของรอยต่อ ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามค่าความแข็งแกร่งของสลักเกลียวและค่าความแข็งแกร่งของชิ้นส่วนประกบ เนื่องด้วยค่าความแข็งแกร่งของชิ้นส่วนประกบเป็นตัวแปรที่หาค่าได้ค่อนข้างยาก บทความนี้จึงนำเสนอการหาและเปรียบเทียบค่าความแข็งแกร่งของชิ้นส่วนประกบที่คำนวณได้จากวิธีวิเคราะห์และวิธีโฟโตอิลาสติกซิตี ส่วนสำคัญของการได้มาซึ่งวิธีวิเคราะห์ที่ใช้ในการประมาณค่าความแข็งแกร่งของชิ้นส่วนประกบ คือ การกำหนดตำแหน่งของขอบความเค้นด้วยสมการเชิงเส้นตรงในฟังก์ชันของครึ่งหนึ่งของมุมกรวยยอดตัดชิ้นส่วนประกบทำจากเรซิ่นสองชิ้นมีรูปร่างตัวแอลที่มีขนาดเท่ากัน และมีรูสำหรับสวมสลักเกลียวหัวหกเหลี่ยมขนาดมาตรฐาน ISO M8 ĭ 1.25 mm ยาว 50 mm ชิ้นส่วนประกบได้รับแรงขัน ตึงเบื้องต้นตั้งแต่ 1250 N ถึง 2500 N โดยใช้ประแจวัดโมเมนต์บิดเป็นช่วงๆ ละ 125 N ในแต่ละช่วงดังกล่าว รอยต่อจะถูกวางไว้ในโพลาริสโคปแบบแสงโพลาไรซ์วงกลมเพื่อถ่ายภาพ ภาพสนามความเค้นที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบีบอัดของสลักเกลียวและแป้นเกลียวแสดงให้เห็นว่าขอบของสนามความเค้นที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหาค่าความแกร่งของชิ้นส่วนประกบมีความสัมพันธ์เชิงเส้นโค้งมากกว่าจะเป็นเส้นตรงที่สมมติไว้ในวิธีวิเคราะห์ การเปรียบเทียบค่าความแข็งแกร่งของชิ้นส่วนประกบระหว่างที่คำนวณได้จากวิธีวิเคราะห์ที่ครึ่งหนึ่งของมุมกรวยยอดตัดเท่า และค่าที่คำนวณ ได้จากวิธีที่นำเสนอแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามสมการที่ใช้หาค่าความแกร่งด้วยวิธีวิเคราะห์มีรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าวิธีการที่ได้นำ เสนอ
Keywords
Member Stiffness, Numerical Method of Integration, Photoelasticity