การพัฒนากระบวนการขึ้นรูปเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงชิ้นส่วนยานยนต์โดยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ : กรณีศึกษา BRACKET, FR BUMPER SIDE LH
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Suwanchinda, Bhanupong;Suranantchai, Surasak
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2016
วารสาร: KMUTT Research and Development Journal (0125-278X)
Volume number: 39
Issue number: 4
หน้าแรก: 615
หน้าสุดท้าย: 628
นอก: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=825
บทคัดย่อ
RH” โดยการใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยทำนายการลากขึ้นรูปลึกของชิ้นงาน วัสดุที่ใช้ในการวิจัย คือ เหล็กแผ่นความแข็งแรงสูงเกรด SPC270D ความหนา 1.4 มิลลิเมตร โดยมีพารามิเตอร์ที่ทำการตรวจสอบ ได้แก่ การออกแบบดรอว์บีด ขนาดของแผ่น เริ่มต้นชิ้นงาน และแรงจับยึดชิ้นงาน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อนของกระบวนการ ในงานวิจัยนี้จึงกำ หนดให้พันช์ และดายเป็นวัสดุแกร่ง ซึ่งไม่มีการเสียรูปร่าง วัสดุที่ใช้ขึ้นรูปถูกสันนิษฐานว่ามีสมบัติที่ไม่เท่ากันในแต่ละทิศทาง โดยอาศัยกฎการยกกำลังและพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปยืนหยุ่น-ถาวร รวมไปถึงใช้สมการของ Barlat 3 components yield function ในการทำนายพฤติกรรมการขึ้นรูปของวัสดุ การเสียรูปของชิ้นงานถูกกำหนดโดยแผนภาพขีดจำกัดการขึ้นรูปที่ทำนายโดยสมการของคีลเลอร์จากผลการจำลองการขึ้นรูปเมื่อใช้แรงจับยึดชิ้นงาน 114 ตัน พร้อมกับปรับการออกแบบดรอว์บีดให้กับผิวเเม่พิมพ์และเพิ่มขนาดแผ่นเริ่มต้นชิ้นงาน สามารถแก้ไขปัญหาการแตกและการย่นของชิ้นงานลงได้ อีกกรณีหนึ่งเมื่อใช้ระบบแก๊สสปริงแทนที่ระบบจับยึดชิ้นงานด้วยแรงจากเครื่องจักรโดยตรง ผลการจำลองแสดงให้เห็นถึง ผลลัพธ์ของชิ้นงานที่ดีกว่าในแง่ของการย่น
คำสำคัญ
RH