Study on Performance of Different Reinforced Concrete Structural Systems for Supporting Swimming Pool
Journal article
Authors/Editors
Strategic Research Themes
No matching items found.
Publication Details
Author list: กรกฎ สรณะสัจจะชีพ;รักติพงษ์ สหมิตรมงคล
Publication year: 2016
Journal: Ladkrabang Engineering Journal (0125-1724)
Volume number: 33
Issue number: 4
Start page: 48
End page: 59
ISSN: 0125-1724
URL: http://www.kmitl.ac.th/lej/PDFjournal59/Volume33_No4_DEC2559_(7).pdf
Abstract
โครงการวิจัยเฉพาะเรื่องฉบับนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างคอนกรีตรับนํ้าหนักสระว่ายนํ้า การศึกษาเริ่มจากการเปรียบเทียบพฤติกรรมของโครงสร้างระบบพื้น-คานจริงที่วัดได้กับค่าที่ได้จากการวิเคราะห์แบบจำลองด้วยโปรแกรม CSI ETABS จนได้แบบจำลองที่สามารถแสดงพฤติกรรมของโครงสร้างได้อย่างถูกต้อง จากนั้นนำแบบจำลองดังกล่าวไปวิเคราะห์พฤติกรรมของโครงสร้างในระบบต่างๆ เช่น ระบบคานพื้น ระบบคานแบน ระบบพื้นท้องเรียบมีแป้นหัวเสา และระบบพื้นท้องเรียบ และทำการเปรียบเทียบโดยคำนึงถึงพฤติกรรม และความคุ้มค่า รวมถึงข้อควรระวังในการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกวิธีการก่อสร้างโครงสร้างสระว่ายนํ้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโครงสร้างตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม การศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างสระว่ายนํ้าในสภาวะการรับนํ้าหนักด้วยโปรแกรม CSI ETABS เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของโครงสร้างจริงที่วัดได้ พบว่าค่าการแอ่นตัวของพื้นและคานในแต่ละตำแหน่งมีค่าใกล้เคียงกันโดยมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างอยู่ที่ร้อยละ 11.50 และ 10.18 ตามลำดับ เมื่อนำแบบจำลองดังกล่าวไปวิเคราะห์พฤติกรรมของโครงสร้างในระบบต่างๆ ด้วยโปรแกรม CSI SAFE พบว่าค่าการโก่งตัวสูงสุด ค่าหน่วยแรงสูงสุด และค่าความกว้างของรอยร้าวสูงสุด มีค่าสูงขึ้นทั้งในระบบคานแบน ระบบพื้นท้องเรียบมีแป้นหัวเสา และระบบพื้นท้องเรียบ การก่อสร้างจึงต้องระมัดระวังในเรื่องการเสริมเหล็กในบริเวณที่มีค่าหน่วยแรงสูง รวมถึงบริเวณที่มีค่าความกว้างของรอยร้าวสูง จากการศึกษาในครั้งนี้ยังพบอีกว่าโครงสร้างระบบพื้นท้องเรียบช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของแบบหล่อคอนกรีต รวมถึงใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าระบบคานพื้น
Keywords
ค่าความกว้างของรอยร้าวสูงสุด