(แบบจำลองคณิตศาสตร์ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนองและวิธีโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับทำนายผลแรงดึงเฉือนและขนาดนักเกตสำหรับเหล็กเคลือบสังกะสี JIS G3313 ที่ผ่านการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด)
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปรัชญา เพียสุระ;พีรวุฒิ เล้าภาษิต
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: The Journal of Industrial Technology (1686-9869)
Volume number: 15
Issue number: 3
หน้าแรก: 42
หน้าสุดท้าย: 60
นอก: 1686-9869
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jit_journal/article/view/229625
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและวิเคราะห์รูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง โดยออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง และแบบจำลองด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม ในการทำนายค่าแรงดึงเฉือนและขนาดนักเกตสำหรับการเชื่อมความต้านทานชนิดจุดในเหล็กเคลือบสังกะสี JIS G3313 ปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา 3 ปัจจัยได้แก่ กระแสไฟฟ้า เวลา และแรงกดอิเล็กโทรดในการเชื่อม หลังจากทำการเชื่อมได้มีการทดสอบแรงดึงเฉือน การวัดขนาดนักเกต และการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการวิจัยพบว่าสภาวะการเชื่อมที่เหมาะสม คือ กระแสไฟฟ้าในการเชื่อม 12 กิโลแอมแปร์ เวลาในการเชื่อม 9 ไซเคิล และแรงกดอิเล็กโทรด 1.5 กิโลนิวตัน ส่งผลให้มีค่าแรงดึงเฉือน มีขนาดนักเกตตามเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐาน JIS Z3140:2017 โครงสร้างจุลภาคบริเวณเขตอิทธิพลความร้อนมีเกรนของเฟอร์ไรท์ เพิร์ลไรท์ละเอียดและหนาแน่น บริเวณนักเกตเกิดโครงสร้างเฟอร์ไรท์รูปเข็มที่มีความละเอียด จึงส่งผลให้ชิ้นงานเชื่อมมีความแข็งแรงสูง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม คือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากวิธีโครงข่ายประสาทเทียม โดยโครงสร้างโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการทำนายค่าแรงดึงเฉือน คือ ชั้นอินพุทจำนวน 3 นิวรอน ชั้นซ่อนจำนวน 10 นิวรอน และชั้นแสดงผลจำนวน 1 นิวรอน (3-10-1) ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองที่ 0.0026 ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ 0.956 สำหรับทำนายขนาดนักเกต ชั้นอินพุทจำนวน 3 นิวรอน ชั้นซ่อนจำนวน 5 นิวรอน และชั้นแสดงผลจำนวน 1 นิวรอน (3-5-1) ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองที่ 0.0004 ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ 0.958 โดยงานวิจัยนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสามารถนำข้อมูลวิจัย และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวไปใช้เพื่อพยากรณ์ ควบคุมคุณภาพของรอยเชื่อมให้ได้ค่าแรงดึงเฉือน และขนาดนักเกตตามเกณฑ์การยอมรับต่อไป
คำสำคัญ
แบบจำลองคณิตศาสตร์, วิธีพื้นผิวตอบสนอง, วิธีโครงข่ายประสาทเทียม, การเชื่อมความต้านทานชนิดจุด, เหล็กเคลือบสังกะสี