การศึกษารูปแบบการลงทุนสำหรับการพัฒนาโครงการส่วนต่อขยายทางยกระดับ อุตราภิมุข

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งThanawat Mongkolchoo;Thanawat Mongkolchoo;Kitti Subprasom;Ampol Karoonsoontawong;Sorada Saowalakaksorn

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

วารสารKMUTT Research and Development Journal (0125-278X)

Volume number42

Issue number2

หน้าแรก177

หน้าสุดท้าย198

นอก0125-278X

URLhttps://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/brows1.php?V_ID=37&N_ID=115


บทคัดย่อ

แหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ เงินงบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ การลงทุนในรูปแบบ Turn-key เงินกองทุนค่าธรรมเนียม ค่าผ่านทาง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศ และการร่วมลงทุนระหว่าง ภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษา ทางเลือกรูปแบบการลงทุนที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาทางหลวง กรณีศึกษาโครงการ ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ในรูปแบบการลงทุนประเภท PPP โดยวิเคราะห์ความ เหมาะสมด้านการเงินเบื้องต้น จากการศึกษา พบว่า กรณีภาครัฐไม่สนับสนุนค่าก่อสร้าง จะได้อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ร้อยละ 3.21 ที่ระยะเวลาการให้สัมปทานโครงการ 30 ปี (กรณีฐาน) ซึ่งไม่มีความคุ้มค่าด้านการเงิน ภาครัฐจึงต้องสนับสนุนค่าก่อสร้างบางส่วน เพื่อจูงใจให้เอกชนมาร่วมลงทุน รูปแบบการลงทุนที่น่าสนใจที่ได้จากการวิจัยนี้คือภาครัฐ ลงทุนค่าก่อสร้างส่วนโยธาทั้งหมด และให้เอกชนมารับสัมปทานในส่วนการดำเนินงานและ บำรุงรักษา (Operation and Maintenance) ในรูปแบบ O&M-PPP-Net-Cost (แบ่งปัน รายได้ เอกชน:ภาครัฐ สัดส่วนร้อยละ 100:0) ซึ่งจะได้อัตราผลตอบแทนทางการเงิน ร้อยละ 36.08 และในรูปแบบ O&M-PPP-Gross Cost (แบ่งปันรายได้ เอกชน:ภาครัฐ สัดส่วนร้อยละ 50:50) จะได้อัตราผลตอบแทนทางการเงิน ร้อยละ 18.22


คำสำคัญ

การพัฒนาทางหลวงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนรูปแบบการลงทุนแหล่งเงินทุน


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:36