การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 เมกกะวัตต์ ระหว่างการติดตั้งแบบระบบคงที่กับแบบระบบติดตามดวงอาทิตย์ในประเทศไทย

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งBordin Senanon;Kunyanat Thongtep;Kamon Jirasereeamornkul;Wanchak Lenwari1;Sermsuk Buochareon;Yingrak Auttawaitkul

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

Volume number14

Issue number2

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย19

นอก1686-4409

eISSN2651-1207

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/205701


บทคัดย่อ

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (GDP) 9 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัว ร้อยละ 4.3 ส่งผลต่อภาพรวมการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.6 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,397,306 ล้านบาท ซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศส่งผลให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังลดลงเรื่อยๆ รัฐบาลจึงมีการสนับสนุนให้มีการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน โดยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ร้อยละ 25.79 จากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ได้รับความนิยมรองจากพลังงานชีวมวลและพลังงานน้ำขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีเทคโนโลยีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 2 ประเภท คือ การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบระบบคงที่ (Fixed) กับแบบระบบติดตามดวงอาทิตย์ (Tracking) ซึ่งแบบระบบติดตามดวงอาทิตย์จะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแบบระบบคงที่ คิดเป็นร้อยละ 2.51 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งสองแบบ พิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่อัตราคิดลดร้อยละ 3 พบว่า ทั้งสองแบบมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่เป็นบวก แสดงว่ามีความคุ้มค่าที่จะลงทุน และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B


คำสำคัญ

การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ติดตั้งแผงแบบระบบคงที่ติดตั้งแผงแบบระบบติดตามดวงอาทิตย์โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:36