แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการทำนายค่าความเค้นแรงดึงในการเชื่อมภาชนะแรงดันสูงด้วยเหล็กกล้า ASTM A537 Class1

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งปรัชญา เพียสุระ

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

Volume number7

Issue number2

หน้าแรก36

หน้าสุดท้าย49

eISSN2672-9989

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/article/view/206174


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมในการทำนายค่าความเค้นแรงดึง สำหรับการเชื่อมภาชนะทนแรงดันสูงในเหล็กกล้า ASTM A537 Class1 ด้วยกระบวนการเชื่อมใต้ฟลักซ์ สำหรับพารามิเตอร์ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความเร็วในการเดินแนวเชื่อม หลังจากทำการเชื่อมได้มีการทดสอบค่าความเค้นแรงดึง วิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม คือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากวิธีโครงข่ายประสาทเทียม โครงสร้างของโครงข่ายประสาทเทียมที่เหมาะสม คือ 3-นิวรอนในชั้นอินพุต 3 นิวรอน จำนวนนิวรอนในชั้นซ่อน 14 นิวรอน และจำนวนนิวรอนในชั้นแสดงผล 1 นิวรอน (3-14-1) การเรียนรู้แบบเลเวนเบิร์ก-มาร์คสำหรับการปรับค่าน้ำหนักและไบแอส รูปแบบฟังก์ชันการกระตุ้น คือ ฟังก์ชันลอก-ซิกมอยด์ สำหรับชั้นนำเข้า  ฟังก์ชันแทน-ซิกมอยด์ สำหรับชั้นซ่อน และฟังก์ชันเพียวรินสำหรับชั้นผลลัพธ์ มีค่าเฉลี่ยความผิดพลาดที่ 0.284 สภาวะการเชื่อมที่มีค่าความเค้นแรงดึงสูงสุดพบโครงสร้างจุลภาคเพิร์ลไลต์ละเอียด ลักษณะกลม มีการกระจายตัวกันอย่างหนาแน่น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อทำนาย ควบคุมคุณภาพของรอยเชื่อมให้ได้ค่าความเค้นแรงดึง ตามข้อกำหนดในมาตรฐาน เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อไป


คำสำคัญ

การเชื่อมใต้ฟลักซ์ค่าความเค้นแรงดึงแบบจำลองภาชนะแรงดันสูงวิธีโครงข่ายประสาทเทียม


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:36