การประเมินสมรรถนะบุคลากรซัพพลายเชน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบจำลอง SCOR

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งWatcharapoj Sapsanguanboon;Wethaya Faijaidee

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

Volume number3

Issue number3

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย28

นอก2539-6110

eISSN2651-2211

URLhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/203346


บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในซัพพลายเชน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบจำลอง SCOR และ (2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรโดยใช้กรอบแนวคิดแบบจำลอง SCOR ซึ่งเป็นกรณีศึกษาแรกของประเทศไทยเนื่องจากเป็นวิธีการเฉพาะของ APICS และยังไม่เคยถูกนำมาประยุกต์ใช้กับบริษัทมหาชนในประเทศไทย ด้วยวิธีเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา บริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มีทุนจดทะเบียนประมาณ 1.6 พันล้านบาท และมีธุรกิจย่อยหลายประเภท โดยการศึกษานี้มุ่งเน้นที่ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินสมรรถนะบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ทำงานในกระบวนการซัพพลายเชน ได้แก่ การวางแผน (Plan) การจัดหา (Source) การผลิต (Make) การจัดส่ง (Deliver) และการส่งคืน (Return) ซึ่งผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมินผู้ใต้บังคับบัญชา ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในซัพพลายเชน เป็นการกำหนดระดับของบุคลากรในองค์กรให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน 5 ระดับของแบบจำลอง SCOR และการพิจารณาลักษณะการทำงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน (Level 3) เพื่อเชื่อมโยงกับทักษะการทำงานบุคลากร (Human Skills) สำหรับใช้ประเมินบุคลากร 2) การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร Human Resource Development Plan (HRD Plan) พิจารณาจากคะแนนของผู้ถูกประเมิน หากผู้ถูกประเมินได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างทักษะการทำงานบุคลากรกับการพัฒนาบุคลากร (Human Training) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะการทำงาน ความรู้ ความสามารถในการตัดสินใจและความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจที่มีบุคลากรมีคุณภาพจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่องค์กรได้ จากกรณีศึกษานี้ บริษัทมหาชนที่ประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจำลอง SCOR สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในซัพพลายเชนและจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรให้บรรลุตามเป้าหมายของซัพพลายเชนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้


คำสำคัญ

การประเมินบุคลากรสมรรถนะและซัพพลายเชน


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:36