กำลังอัดและความต้านทานซัลเฟตของคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้มวลรวมจากการย่อยเศษคอนกรีตผสมเถ้าชานอ้อยบดละเอียด
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Akkadath Abdulmatin;Pokpong Rattanachu;Weerachart Tanchirapat;Chai Jaturapitakkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (2350-9260)
Volume number: 7
Issue number: 1
หน้าแรก: 47
หน้าสุดท้าย: 56
นอก: 2350-9260
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/html/article/view/183634
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการนำเถ้าชานอ้อยซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนเพื่อทำคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้มวลรวมจากการย่อยเศษคอนกรีต โดยนำเถ้าชานอ้อยบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในอัตราส่วนร้อยละ 20, 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน นอกจากนี้นำเศษคอนกรีตที่ได้จากการย่อยเสาตอม่อมาใช้เป็นมวลรวมหยาบเพื่อแทนที่มวลรวมหยาบจากธรรมชาติในส่วนผสมของคอนกรีต ทดสอบหากำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 7, 28 และ 90 วัน และความทนทานของคอนกรีต ได้แก่ การขยายตัวและการสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ผลการวิจัยพบว่าการใช้มวลรวมจากการย่อยเศษคอนกรีตแทนที่หินปูนย่อยส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อกำลังอัดของคอนกรีตเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุม อย่างไรก็ตามการใช้เถ้าชานอ้อยบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สามารถช่วยพัฒนากำลังอัดที่อายุปลายของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากการย่อยเศษคอนกรีตให้สูงกว่าคอนกรีตควบคุมได้เมื่ออายุ 90 วันนอกจากนี้คอนกรีตทุกส่วนผสมมีกำลังอัดมากกว่า 550 กก
คำสำคัญ
Ground bagasse ash