ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดผ่านร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Patcharin Chingrang;Watcharapoj Sapsanguanboon
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
Volume number: 7
Issue number: 1
หน้าแรก: 39
หน้าสุดท้าย: 47
นอก: 2672-9350
eISSN: 2672-9261
URL: https://www.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/217695
บทคัดย่อ
ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผักสดได้จากธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) และมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อผักสดจากธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) เพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งด้านการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น สถานที่ที่สะดวกสบายในการเดินทางและตอบสนองความต้องการอย่างครบถ้วน ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องทำการปรับปรุงเปลี่ยนรูปแบบของสินค้า วิธีการขายและสร้างลักษณะเด่นเฉพาะตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผักสดผ่านร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 279 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ระหว่าง 15,001-30,000 บาท ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อผักสดจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีเพียง 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อผักสดจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายโดยปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อผักสดจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตบางบอนจังหวัดกรุงเทพมหานคร คือ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยผู้ประกอบการร้านค้าปลีกผักสดแบบดั้งเดิมสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้กับการพัฒนากลยุทธ์ในการขายผักสดผ่านร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมได้ ทั้งในด้านพฤติกรรมการเลือกซื้อประเภทของผักสดและสินค้าที่ผู้บริโภคมักซื้อควบคู่กันไปออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ควรมีไว้เพื่อจำหน่ายในร้านค้า และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดผ่านร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมไปใช้ในการพัฒนาและวางกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps
คำสำคัญ
ผักสด, ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม