การพยากรณ์อุปสงค์ที่ไม่สม่ำเสมอ และมีปริมาณที่แปรปรวนมาก สำหรับยาที่มีอัตราการหมุนเวียนช้า กรณีศึกษา โรงพยาบาลชุมชน ประเทศไทย

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPhattaraporn Kalaya;Preecha Termsuksawad;Thananya Wasusri

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

Volume number15

Issue number1

หน้าแรก82

หน้าสุดท้าย92

นอก1905-0852

URLhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/IJPS/article/view/119594


บทคัดย่อ

บทนำ: โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กมักจะประสบปัญหาในการจัดการสินค้าคงคลังของยารักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการขาดแคลนยาในบางช่วงเวลาหรือปัญหายาที่มากเกินความต้องการใช้ในบางช่วงเวลาเช่นกัน เนื่องจากอุปสงค์ในการใช้ยาที่ยากต่อการพยากรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสงค์ในการใช้ยาบางประเภทที่มีรูปแบบการเกิดขึ้นที่ไม่สม่ำเสมอ โดยมีหลายช่วงเวลาไม่เกิดอุปสงค์ และ เมื่อเกิดอุปสงค์ขึ้นปริมาณจะมีความแปรปรวนมาก อย่างเช่นยาที่มีความสำคัญต่อการช่วยเหลือชีวิตที่มีอัตราการหมุนเวียนในการใช้สอยช้า แต่โรงพยาบาลต้องมีการสำรองยาไว้เสมอ ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือพยากรณ์เพื่อใช้พยากรณ์ความต้องการยาที่มีอัตราการหมุนเวียนช้าของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษานี้ได้มีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องมือพยากรณ์ 2 เครื่องมือได้แก่เครื่องมือ Croston (CR) และเครื่องมือ Teunter, Syntetos, and Babai (TSB) โดยการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้ข้อมูลในอดีตที่ได้จากโรงพยาบาลชุมชนของ ประเทศไทยแห่งหนึ่ง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยมีตัวชี้วัดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (mean square error ; MSE) และช่วงเวลาในการขาดแคลนสินค้า (shortage) ผลการวิจัย: พบว่ารูปแบบการเกิดขึ้นของอุปสงค์ที่แตกต่างกัน ระยะเวลาในการปรับค่าคงที่ มีผลต่อศักยภาพของเครื่องมือพยากรณ์ เครื่องมือ TSB เกิดความคลาดเคลื่อนกำลังสองน้อยกว่าในกรณีที่มีการเกิดขึ้นของอุปสงค์แบบชุดข้อมูลของยาV1 ในขณะเครื่องมือ CR ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าสำหรับตัวชี้วัด จำนวนช่วงเวลาที่สินค้าขาดแคลน ทั้ง 2 เครื่องมือเกิดค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองในการพยากรณ์น้อยลงในการปรับค่าคงที่ ทุก 8 และ 12 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ทั้ง 2 เครื่องมือยังคงพบช่วงเวลาที่เกิดสินค้าขาดแคลนหลายช่วงเวลามาก สรุปผลการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือสำหรับพยากรณ์อุปสงค์ที่ไม่สม่ำเสมอและมีความแปรปรวนมากควรให้ความสำคัญกับ ลักษณะของข้อมูล  ความแปรปรวนของปริมาณ อัตราการเกิดขึ้นของอุปสงค์ รวมไปถึงการพิจารณาระยะเวลาระหว่างการเกิดอุปสงค์ เพราะจะมีผลกับการประมาณการและมีโอกาสที่จะทำให้เกิดจำนวนช่วงเวลาที่สินค้าขาดแคลน หรือปริมาณสินค้าที่มากเกินความต้องการ


คำสำคัญ

ยาที่มีอัตราการหมุนเวียนช้าอุปสงค์ที่ไม่สม่ำเสมอ และปริมาณแปรปรวนมาก


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:37