เครื่องวิเคราะห์ค่า CCS ของอ้อยแบบพกพาด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งLalita Aomsin;Ronnarit Rittiron;Werasak Surareungchai;Rutchadaporn Nootas

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

วารสารThai Society of Agricultural Engineering Journal (1685-408X)

Volume number25

Issue number2

หน้าแรก50

หน้าสุดท้าย61

นอก1685-408X

URLhttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/TSAEJ/article/view/169235


บทคัดย่อ

อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งราคาการซื้อขายจะอาศัยค่า ซีซีเอส (Commercial Cane Sugar; CCS) เป็นตัวกำหนด การซื้อขายอ้อยด้วยระบบ CCS นั้น ยังเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และไม่สามารถทำการวัดค่า CCS ในไร่เพื่อทราบปริมาณน้ำตาลได้ในทันที ทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำการเก็บเกี่ยวอ้อยในระยะเวลาเหมาะสมเพื่อให้ค่า CCS สูงที่สุดได้ เทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้ (Near Infrared) จึงเป็นเทคนิคที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพโดยไม่ทำลายตัวอย่าง ไม่ใช้สารเคมี ใช้งานง่าย และรวดเร็ว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการสร้างเครื่องวิเคราะห์ค่า CCS ของอ้อยแบบพกพาด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้ ในระบบการวัดแบบสะท้อนกลับ ที่ความยาวคลื่น 800-1200 นาโนเมตร และสร้างสมการเทียบมาตรฐานวิเคราะห์ค่า CCS ซึ่งเครื่องวิเคราะห์ที่สร้างมีจอแสดงผลเป็นแบบสัมผัส ใช้แหล่งพลังงานเป็นแบตเตอรี่ที่ความจุ 9800 มิลลิแอมแปร์ต่อชั่วโมง จากผลของการทดสอบเครื่องวิเคราะห์ พบว่าสามารถทำงานภาคสนามด้วยแบตเตอรี่ได้ต่อเนื่องกว่า 6 ชั่วโมง และสมการเทียบมาตรฐานวิเคราะห์ค่า CCS ที่สร้างมีค่าความผิดพลาดมาตรฐานในการทำนาย (SEP) เท่ากับ 1.97 เปอร์เซ็นต์ และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย (Bias) เท่ากับ 0.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเครื่องวิเคราะห์ที่สร้างวิเคราะห์ค่า CCS ได้ไม่แตกต่างกับค่าที่วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์


คำสำคัญ

ค่า CCSเครื่องวิเคราะห์คุณภาพอ้อยอินฟราเรดย่านใกล้


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:37