หัวทดสอบแบบวงแหวนวัดแรงสำหรับหากำลังของดินเหนียวอ่อน
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Kitidech Santichaianant;Tawatchai Patchmai
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: KMUTT Research and Development Journal (0125-278X)
Volume number: 42
Issue number: 2
หน้าแรก: 161
หน้าสุดท้าย: 176
นอก: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/brows1.php?V_ID=37&N_ID=115
บทคัดย่อ
ในการหากำลังของดินเหนียวอ่อนแบบไม่ระบายน้ำ นิยมใช้หัวทดสอบแบบ T-bar ทั้งในห้อง ทดลองและในสนาม สำหรับในห้องทดลอง หัวกดชนิดนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์ประกอบขนาดเล็ก ที่มีราคาสูงเพื่อวัดแรงกด งานวิจัยนี้จึงคิดค้นและออกแบบหัวกดแบบใหม่ ได้แก่ หัวกดแบบ วงแหวนวัดแรง โดยในเบื้องต้นได้ออกแบบวงแหวนที่ใช้สำหรับหัวกด 2 ขนาด คือ ขนาด 22.20 มม. และขนาด 16.35 มม. สำหรับงานวิจัยก่อนหน้าและปัจจุบันตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานวิจัยก่อนหน้ามิได้ศึกษาผลกระทบของมิติของขนาดวงแหวน งานวิจัยนี้จึงทำการสอบเทียบและทดสอบการกดของวงแหวนขนาดขนาด 16.35 มม. ลงในดินเหนียวประดิษฐ์ จากผลการวิจัยทั้งสองระยะ พบว่าสัมประสิทธิ์ของวงแหวนวัดแรง (N-Factor) ที่ใช้ในการหากำลังของดินมีค่าเท่ากับ 8.39 และ 8.08 ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นค่า ความแตกต่างเพียงร้อยละ 3.71 แสดงให้เห็นว่าค่า N-Factor ได้รับอิทธิพลน้อยจากมิติ ของขนาดวงแหวนที่แตกต่างกัน ดังนั้น หัวกดแบบวงแหวนวัดแรงจึงเป็นนวัตกรรมและ อีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำในการสร้างหัวกดเพื่อใช้สำหรับทดสอบหากำลังรับ แรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดินเหนียว ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนาม
คำสำคัญ
การหมุนเหวี่ยง, กำลังของดินแบบไม่ระบายน้ำ, ดินเหนียวอ่อน, ทีบาร์, วงแหวนวัดแรง, หัวกด