การศึกษาผลของการเรียนรู้ของผู้ปกครองโดยใช้ชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้ของผู้ปกครองด้วยวิธีปกติ เรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Sanyaluck Wattanachalermyos;Saranya Chuathong
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: Veridian E-Journal, Silpakorn University (1906-3431)
Volume number: 12
Issue number: 4
หน้าแรก: 1063
หน้าสุดท้าย: 1078
นอก: 1906-3431
URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/172658
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง เรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน 2) หาคุณภาพของชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง เรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน 3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กที่เรียนด้วยชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง กับกลุ่มผู้ปกครองที่เรียนรู้ด้วยวิธีปกติเรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน 4) ประเมินความพึงพอใจในการใช้ชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง เรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน ประชากรที่ใช้ในการสำรวจและวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กที่มาตรวจโรคหู คอ จมูกทั่วไป โรงพยาบาลศิริราช ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะขี้หูอุดตันรูหู จำนวน 919 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้ปกครองของเด็กที่มาตรวจโรคหู คอ จมูกทั่วไป โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 250 คน ได้มาจากการคำนวณสูตรการประมาณค่าสัดส่วน 1 กลุ่ม และระยะที่ 2 ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กที่มาตรวจโรคหู คอ จมูกทั่วไป โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง (เรียนรู้ด้วยชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง) และกลุ่มควบคุม (เรียนรู้ด้วยวิธีปกติ) กลุ่มละ 20 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กที่มาตรวจโรคหู คอ จมูกทั่วไป โรงพยาบาลศิริราชมีความต้องการชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง เรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน 2) ผลการหาคุณภาพด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านละ 3 ท่าน มีภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3) การเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนมากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน ซึ่งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
คำสำคัญ
ชุดสื่ออินโฟกราฟิก, ภาวะขี้หูอุดตันรูหู, ยาละลายขี้หู, สถานการณ์จำลอง