การประยุกต์ใช้วิธีโครงข่ายประสาทเทียมและวิธีพื้นผิวตอบสนองสำหรับการทำนายสมบัติทางกลและหาความเหมาะสมในการเชื่อมลำเรืออลูมิเนียมเกรด 5083
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Prachya Peasura;Suthipong Sopha
ผู้เผยแพร่: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2020
Volume number: 27
Issue number: 2
หน้าแรก: 201
หน้าสุดท้าย: 215
จำนวนหน้า: 15
นอก: 0857-2178
eISSN: 2672-9695
URL: https://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_2/15.pdf
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมในการทำนายค่าความเค้นแรงดึงและค่าความแข็ง และการหาความเหมาะสมในการเชื่อมด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง สำหรับการเชื่อมลำเรืออลูมิเนียม เกรด AISI5083 ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์คโลหะแก๊สปกคลุม ปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความเร็วในการเดินแนวเชื่อม หลังจากทำการเชื่อมได้มีการทดสอบค่าความเค้นแรงดึง ค่าความแข็ง วิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และหาความเหมาะสมในการเชื่อม ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม คือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากวิธีโครงข่ายประสาทเทียม โครงสร้างของโครงข่ายประสาทเทียมที่เหมาะสม คือ นิวรอนในชั้นอินพุต จำนวน 3 นิวรอน นิวรอนในชั้นซ่อนที่ 1 จำนวน 10 นิวรอน นิวรอนในชั้นซ่อนที่ 2 จำนวน 10 นิวรอน และจำนวนนิวรอนในชั้นแสดงผล 1 นิวรอน (3-10-10-1) การเรียนรู้แบบเลเวนเบิร์ก-มาร์ค รูปแบบฟังก์ชันการกระตุ้น คือ ลอกซิกมอยด์สำหรับชั้นนำเข้า ฟังก์ชันแทนซิกมอยด์ สำหรับชั้นซ่อนที่ 1 และ 2 ฟังก์ชันเพียวรินสำหรับชั้นผลลัพท์ ชนิดของฟังก์ชัน โดยมีค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสองเท่ากับ 0.454 และ 0.386 สำหรับค่าความเค้นแรงดึง และค่าความแข็งตามลำดับ สภาวะการเชื่อมที่เหมาะสม คือ กระสไฟฟ้า 220 แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า 26 โวลต์ และความเร็วในการเชื่อม 10 มิลลิเมตรต่อวินาที พบว่าโครงสร้างจุลภาคมีสารประกอบเชิงโลหะชนิด Al(Fe,Mn)Siขนาดเล็กและมีการกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอในโครงสร้างพื้นส่งผลให้ชิ้นงานเชื่อมมีค่าความเค้นแรงดึง และค่าความแข็งสูงสุด
คำสำคัญ
การเชื่อมลำเรืออลูมิเนียม, โครงข่ายประสาทเทียม, วิธีพื้นผิวตอบสนอง, สมบัติทางกล