การประยุกต์ใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการหาความเหมะสมในการเชื่อมพื้นดาดฟ้าเรือขนส่งสินค้า
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปรัชญา เพียสุระ;Pasapitch Chujai
ผู้เผยแพร่: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2020
Volume number: 18
Issue number: 1
หน้าแรก: 57
หน้าสุดท้าย: 68
จำนวนหน้า: 12
นอก: 27302148
eISSN: 26974339
URL: https://journal.engineer.rmutt.ac.th/enjournal/index.php/enjournal/article/view/475
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการหาความเหมาะสมในการเชื่อมพื้นดาดฟ้าเรือขนส่งสินค้าด้วยกระบวนการเชื่อมใต้ฟลักซ์ในเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง เกรด ASTM A131 EH36 โดยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายค่าความเค้นแรงดึง ด้วยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม ชนิดการแพร่ค่าย้อนกลับ ลักษณะการเรียนรู้แบบมีผู้สอน มีปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความเร็วในการเชื่อม หลังจากทำการเชื่อมได้มีการทดสอบค่าความเค้นแรงดึง การดัดโค้ง การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และการสร้างแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ด้วยวิธีฝึกสอนอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบเลเวนเบิร์ก-มาร์ค ฟังก์ชั่นปรับการเรียนรู้ ชนิดการเคลื่อนลงตามความชัน และชนิดการเคลื่อนลงตามความชันด้วยโมเมนตัม รูปแบบฟังก์ชั้นการกระตุ้น ในงานวิจัยได้ใช้ฟังก์ชั่นลอก-ซิกมอยด์สำหรับชั้นนำเข้า ฟังก์ชั่นแทน-ซิกมอยด์สำหรับชั้นซ่อนที่ 1 และชั้นซ่อนที่ 2 ฟังก์ชั่นเพียวรินสำหรับชั้นผลลัพท์ ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมที่เหมาะสมในการทำนายค่าความเค้นแรงดึง ประกอบด้วยนิวรอนในชั้นอินพุต 3 นิวรอน นิวรอนในชั้นซ่อนที่ 1 จำนวน 8 นิวรอน นิวรอนในชั้นซ่อนที่ 2 จำนวน 10 นิวรอน และนิวรอนในชั้นแสดงผล 1 นิวรอน (3-8-10-1) ชนิดของฟังก์ชั่นปรับการเรียนรู้ชนิดการเคลื่อนลงตามความชัน มีค่าเฉลี่ยผิดพลาดกำลังสองที่ 0.000106 มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ 0.99947 สภาวะการเชื่อมที่เหมาะสมที่ได้จากการทำนายจากแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ที่กระแสไฟฟ้า 340 แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า 26 โวลต์ และความเร็วที่ใช้ในการเชื่อม 20 เซนติเมตรต่อนาที
คำสำคัญ
กระบวนการเชื่อมใต้ฟลักซ์, แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม, พื้นดาดฟ้าเรือ