การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์สำหรับการศึกษาระบบแถวคอยบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินด้วยโปรแกรม PTV Viswalk

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPiyapat Petchan;Ampol Karoonsoontawong

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2020

วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต (2286-668X)

Volume number10

Issue number3

หน้าแรก25

หน้าสุดท้าย45

จำนวนหน้า21

นอก2286-668X

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kbej/article/view/242675


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมแถวคอยของผู้ใช้บริการ ณ จุดให้บริการ และวิเคราะห์ปัญหาของระบบการให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน ด้วยวิธีการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ในโปรแกรม PTV Viswalk จากกรณีศึกษาดังกล่าว จุดวิกฤตของการให้บริการ คือ ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและแลกเหรียญ (Ticket Office) และเครื่องจำหน่ายตัวอัตโนมัติชนิดไม่รับธนบัตร (Ticket Issuing Machine: TIM) ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินที่มีลักษณะโครงสร้างอาคารแตกต่างจากสถานีทั่วไป การวิจัยจึงได้จำลองสถานการณ์ 2 รูปแบบ เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยงานวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองสถานการณ์รูปแบบปัจจุบัน เปรียบเทียบกับรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 และทำการวัดผลโดยใช้ตัวชี้วัด คือ ผลรวมของเวลาในแถวคอยเฉลี่ย ณ จุดให้บริการ และผลรวมความยาวของแถวคอยเฉลี่ย ณ จุดให้บริการ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า แบบจำลองสถานการณ์รูปแบบที่ 1 ซึ่งมีแนวทางการปรุบปรุง คือ การเพิ่มจุดให้บริการห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและแลกเหรียญ (Ticket Office) จำนวน 1 ห้อง และเพิ่มตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติชนิดรับธนบัตร (TVM) จำนวน 2 เครื่อง ทั้ง 2 ฝั่ง ทางเข้าและออก 1-2 และทางเข้าและออก 3-4 มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการปรับปรุงระบบแถวคอยบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน ซึ่งมีเวลาในแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 25.54 วินาที และความยาวของแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.53 คน


คำสำคัญ

คนเดินเท้า, แถวคอย, แบบจำลองสถานการณ์, โปรแกรม PTV Viswalk


อัพเดทล่าสุด 2022-04-07 ถึง 23:05